วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การค้าอิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)

          ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดทุกสาขาอาชีพล้วนแล้วแต่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน การค้าขายก็เช่นเดียวกัน ได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ตมาใช้เพื่อการค้ามากยิ่งขึ้นและมีแนวโน้มที่จะใช้มากยิ่งขึ้น การนำระบบสารสนเทศทางธุรกิจมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งได้แก่ การค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) มาใช้เพื่อให้การซื้อ-ขายสามารถดำเนินการได้ตลอดเวลา และไม่จำกัดด้านระยะทางอีกด้วย

ความหมายของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)

          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายรวมถึงการค้าทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่หลายคนอาจจะนึกถึงเฉพาะการค้าบนเว็บอย่างเดียว แต่จริง ๆ แล้วการค้าขายโดยผ่านทางเครื่องแฟกซ์ โดยเราแฟกซ์เอกสารขายตรงออกไป และลูกค้าแฟกซ์ใบสั่งซื้อเข้ามาก็ถือเป็น E-commerce หรือการขายตรงทางทีวียิ่งชัดเจนมากขึ้น เช่น การเสนอขายสินค้าผ่านทางทีวีก็ถือเป็นแบบ E-commerce ได้เช่นกัน (ศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2544)จะเห็นได้ว่า   การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การประกอบธุรกิจ ซื้อขายสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งที่นิยมได้แก่อินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องเห็นหน้ากัน และสามารถติดต่อโอนเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์การค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการค้าแบบ E-business หรือการประยุกต์อินเทอร์เน็ตในการดำเนินธุรกิจ โดยทั่วไปแล้วหมายถึงการค้าแบบ "ซื้อมา-ขายไป" ในส่วนของหน้าร้าน (front office) ซึ่งมีหลายแบบ ได้แก่

          1. การค้าระหว่างองค์กรธุรกิจกับองค์กรธุรกิจ (Business to Business--B-to-B) เป็นการค้าขนาดใหญ่ระหว่างองค์กรกับองค์กร ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการสินค้าส่งออก นำเข้าหรือค้าส่งที่ต้องส่งสินค้าเป็นล็อต (lot) ขนาดใหญ่ ซึ่งการชำระเงินจะผ่านระบบธนาคาร เช่น T/T, L/C หรือเช็ค เป็นต้น
          2. การค้าระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer--B-to-C) เป็นการค้าปลีกไปยังผู้บริโภคทั่วโลก หรือภาย ในท้องถิ่นของตน ในส่วนนี้อาจจะรวมการค้าปลีกแบบล็อตใหญ่หรือเหมาโหลหรือค้าส่งขนาดย่อยไว้ด้วย ซึ่งการชำระเงินโดยส่วนใหญ่จะเป็นการชำระผ่านระบบบัตรเครดิต แต่อย่างไรก็ตาม การค้าแบบ B-to-C นี้มักทำให้เกิดกาค้าแบบ B-to-B ในอนาคตได้ และหลายบริษัท มักทำกิจกรรมสองอย่างนี้ในคราวเดียวกัน
          3. การค้าระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน (Consumer to Consumer--C-to-C) เป็นการค้าปลีกระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตด้วยกัน เช่น อาจจะเป็นการขายสินค้าหรือข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้งานแล้ว รวมทั้งการเปิดประมูลเพื่อขายข้าวของเครื่องใช้ของตนเองด้วย การแบ่งกลุ่มข้างต้นนี้ ถือเป็นแนวทางคร่าว ๆ ให้เราได้ตัดสินใจว่า จะเลือกเดินในทางใดในการทำธุรกิจบนเว็บ ซึ่งถือเป็นการเลือกคู่ค้าไปในตัว ความจริงแล้วเราอาจจะแบ่งกลุ่มได้มากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่นำมาใช้ในการจัดรูปแบบ เช่น หากทำการค้าขายกับองค์กรของรัฐบาลอาจจะเรียกเป็น Business-to-Government ก็ได้ หรือหากค้าขายกับองค์การที่ไม่ค้ากำไรก็อาจเรียกเป็นการค้าแบบ Business-to-NGO--Non Government Organization หรืออาจจะขายตรงไปยังผู้ค้าส่งก็เรียกว่า Business-to-Wholesaler เป็นต้น

การทำธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-business)

          การทำธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-business) หมายถึง การดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ หรืออินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง โดยมีการประยุกต์ใช้ในทุกกิจกรรมทั้งในส่วนของหน้าร้าน (front office) หรือเว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อค้าขายและหลังร้าน (back office) หรือระบบจัดการภายใน ไม่ว่าจะเป็นระบบคลังสินค้า ระบบบัญชี ระบบการเงินหรือแม้แต่ระบบการผลิต รวมทั้งการเชื่อมต่อกับระบบการค้ากับองค์กรภายนอกด้วย อาทิเช่น กับธนาคารโดยใช้ระบบ e-Banking หรือ suppliers โดยผ่าน ระบบ e-supply chain ทั้งนี้โดยอาศัยสื่อทั้งในรูปของ Internet และ Extranet และ/หรือ Virtual Private Network--VPN ที่ทำงานเฉพาะกลุ่มที่มีการรักษาความปลอดภัยเป็นพิเศษ (ศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2544)

จุดประสงค์หลักของการนำเอาระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานด้านต่าง ๆ หรือในทุกส่วนของ กระบวนการธุรกิจนี้เพื่อ
          1. ลดต้นทุน การลดต้นทุนในการติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมล์แทนการใช้โทรสาร ลดค่าพิมพ์แคตตาล็อคสินค้า ลดค่าออกใบเสร็จรับเงิน ลดเวลาการตัดสต็อกในคลังสินค้า ประหยัดเวลาในการบันทึกบัญชี และลดค่าใช้จ่ายในการวางแผนการผลิต
          2. ประหยัดเวลา ทั้งนี้เพราะทุกอย่างสามารถทำงานได้เอง โดยผ่านเครือข่ายโดยอัตโนมัติทำให้กระบวนการบริหารงานเป็นไปอย่าง รวดเร็ว ไม่ต้องใช้คนมางานที่ซ้ำซ้อนเหมือนอย่างที่ผ่านมาแต่อย่างใด
          3. เพิ่มประสิทธิภาพ เนื่องจากการทำงานได้รวดเร็วขึ้น และทำได้ถูกต้องแม่นยำ เพราะลูกค้าเป็นผู้ป้อนข้อมูลต้องสั่งซื้อสินค้าเพียงคนเดียว และจุดเดียว ซึ่งข้อมูลทั้งหมดสามารถทำไปออกใบเสร็จรับเงินได้ บันทึกบัญชีได้ หรือสั่งซื้อวัตถุดิบได้ทั้งหมด
          4. ขยายตลาด ทั้งนี้เพราะการต่อเชื่อมระบบอินเทอร์เน็ตจักทำให้เราสามารถนำเสนอสินค้าออกสู่ตลาดโลกได้อย่างรวดเร็วขึ้น เพราะจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 400 ล้านคน เป็นนักธุรกิจมากกว่า ร้อยละ 80
นุชนาฏ บันทึกการเข้า
e-Business Model
« 1 เมื่อ: ต.ค. 15, 2009, 17:57:19 pm »
    e-Business Model สำหรับการค้า e-Commerce ปัจจุบัน

               การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีแนวทางในการดำเนินกลยุทธ์ที่หลากหลายมาก ทั้งนี้เพราะการทำธุรกิจบนเครือข่าย แห่งนี้ลงทุนต่ำและอาศัยความคิดสร้างสรรค์ (creative) หรือไอเดียเป็นหลัก ฉะนั้นจึงมีธุรกิจรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมายตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิเคราะห์ เราพบว่ารูปแบบการค้าบนอินเทอร์เน็ตหรือ e-Business Model สามารถแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ คือ (ศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2544)
               1. แบบซื้อมา-ขายไป (e-business store font) การค้าแบบซื้อมา-ขายไป เป็นการค้าขายแบบตรงไปตรงมา คือเป็นแหล่ง ให้ผู้บริโภคมาจับจ่ายซื้อของโดยทั่วไปแล้วกลุ่มเป้าหมายมักจะอยู่ในวงจำกัดตามลักษณะของสินค้าที่ขาย ส่วนสิ่งที่เสนอขายกันนั้น ได้แก่ สินค้า บริการ รวมทั้งเนื้อหาข้อมูลต่าง ๆ
               2. แบบสื่อกลางด้านข่าวสาร (infomediary) การค้าแบบสื่อกลางด้านข่าวสาร โดยไม่มีการซื้อขายสิ่งใด นอกจากเป็นศูนย์กลางในการอำนวยความสะดวกของการขายและให้บริการต่าง ๆ ให้ผู้ซื้อผู้ขายมาพบกัน สำหรับธุรกิจนี้ใช้วิธีการเสนอขายดังนี้ การให้บริการความเป็นศูนย์รวมของสรรพสิ่ง หรือที่เราเรียกกว่า "พอร์ทัล" (portal)
               3. แบบสื่อกลางด้านความไว้ใจ (trust intermediary) การค้าแบบสื่อกลางด้านความไว้ใจเป็นการให้บริการเพื่อสร้างความไว้วางใจกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งในการให้บริการจักมีการสร้างสิ่งแวดล้อมหรือระบบรักษาความปลอดภัยหรือระบบรักษาความปลอดภัย
               4. แบบขายเครื่องมือในการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-business enabler) การค้าแบบขาย เครื่องมือในการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการค้าขายเครื่องมือทำการค้าบนเว็บที่อำนวยความสะดวกและพร้อมใช้งานได้เลย รวมทั้งให้ความไว้วางใจว่าการค้าบนเว็บเป็นไปอย่างราบรื่น และปลอดภัย การเสนอขาย ได้แก่ระบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบออนไลน์แคตตาล็อค ระบบตะกร้า ระบบการชำระเงิน และติดตามผลการสั่งซื้อ เป็นต้น
               5. การให้บริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน (infrastructure providers) การให้บริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน เป็นการค้าสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อสนับสนุนธุรกรรมของการค้าบนเว็บเช่น ให้บริการอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต การรับสร้างเว็บเพจ การให้เช่าโฮสต์ หรือแม้แต่การจัดส่งสินค้าให้

    e-Marketplace และแนวโน้มการค้าบนเว็บในอนาคต

               การสร้างตลาดบนเว็บ หรือที่เรียกว่า e-Marketplace ถือเป็นแนวโน้มของการค้าบนเว็บ แต่อย่างไรก็ตาม โดยความจริงแล้วก็ไม่ได้แตกต่างกับการสร้างตลาดทำการค้าขายปกติแต่อย่างใด จะต่างกันก็ตรงที่ว่าสร้างขึ้นมาได้โดยอาศัยเพียงการสร้างภาพเท่านั้น ไม่ต้องมีตึกแถว ไม่ต้องมีคอมเพล็กใหญ่โต และใช้เงินลงทุนที่ต่ำมากกว่าการสร้างตลาดจริง ๆ หลายเท่าตัวทีเดียวการสร้างตลาดบนเว็บ ไม่ได้แตกต่างจากการสร้างห้างสรรพสินค้าออนไลน์ทั่วไปนัก (ความจริงแล้ว ห้างออนไลน์เหล่านั้น ก็คือ e-Marketplace เช่นกัน) ที่ผู้ที่เป็นเจ้าของห้างจำเป็นต้องวางผังของห้องให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของหมวดหมู่สินค้า ซึ่งต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า การใช้กลยุทธ์ในเชิงรุก คือมุ่งหาผู้ขายสินค้าที่เราตั้งใจไว้จะให้เป็นส่วนหนึ่งของตลาดที่สร้างขึ้น เพื่อให้ครบองค์ประกอบหลัก เพราะหากปล่อยไปอาจจะทำให้เรามีร้านค้าในหมวดสินค้าหมวดใดหมวดหนึ่งมากเกินไป ฉะนั้นหากท่านเป็นเจ้าตลาดก็ควรจะต้องแสวงหาสินค้าต่าง ๆ เข้ามาเอง มากกว่านั่งรอให้ผู้ขายมาเปิดร้านสำหรับเทคนิคในการให้เจ้าของตลาดบนเว็บทั้งหลาย ได้จำนวนผู้ขายจำนวนมากเข้ามา ร่วมด้วย คือ การบริการฟรี หรือหากเก็บเงินก็เก็บกันแบบถูก ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ขายรู้สึกไม่ต้องเสี่ยงมากหากขายสินค้าไม่ได้ แต่ก็ต้องระวัง เพราะถึงจะฟรีอย่างไรก็ตาม เป้าหมายสูงสุดของผู้ขายก็คือ พวกเขาต้องขายสินค้าได้ เพราะหากขายไม่ได้ต่อให้ฟรีก็ปิดร้านหนีเช่นกัน หรือบางร้านไม่ปิด แต่ใช้วิธีปล่อยทิ้งร้านไม่ดูแลกก็อาจจะเป็นปัญหาต่อไปได้ การสร้างตลาดบนเว็บขึ้นมา มีข้อควรพิจารณาคือ ผู้ที่จะ เข้าไปร่วมค้าในตลาดใดตลาดหนึ่งก็ต้องพิจารณาเงื่อนไขให้ครอบคอบว่าจะได้หรือเสียมากกว่ากัน แต่อย่างไรก็ดีการค้าร่วมในตลาด ย่อมมีผลดีตรงที่ว่าผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าสินค้ามาสำรวจ หรือค้นหาที่เว็บไซต์ที่เป็น e-Marketplace เพียงจุดเดียว และเปรียบเทียบสินค้า ราคาและคุณภาพได้โดยง่าย ทำให้ผู้เสนอขายทุกรายมีโอกาสที่จะขายสินค้าได้ หากสินค้าของตนมีคุณลักษณะที่ตรงกับความต้องการ สำหรับเว็บไซต์ e-Marketplace ได้แก่ www.eceurope.com หรืออย่าง www.verticalnet.com ซึ่งเป็นศูนย์รวมของ e-Marketplace ของสินค้าต่าง ๆ ทั่วโลก

    ปัจจัยที่ทำให้การค้า e-Commerce ไม่ประสบผลสำเร็จ

               ในการประกอบธุรกิจแบบ e-commerce นั้นมีทั้งประสบผลสำเร็จ และล้มเหลว ในที่นี้จะกล่าวถึงเว็บที่ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก (ศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2544)
               1. การลอกเลียนแบบ เป็นการทำธุรกิจตามคนอื่นที่ทำอยู่ก่อนแล้ว เห็นทำเว็บก็ทำตาม เช่น บรรดาพอร์ทัลไซต์ทั้งหลาย ซึ่งที่เห็นหลายรายก็ทำตามทุกอย่าง ไม่มีส่วนใดต่อยอดให้ดีขึ้นเลยก็มี ซึ่งความจริงแล้วการลอกเลียนแบบอาจจะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน เพียงแต่ใช้หลักการเดียวกันเท่านั้น หรือก็อาจจะใช้กับกลุ่มเป้าหมายเดียวกันได้ หากกลุ่มเป้าหมายนั้นมีจำนวนมากพอ หรือมากขนาดที่ เว็บไซต์ที่มีอยู่เดิมไม่สามารถที่จะรองรับได้
               2. การอยู่กับความฝัน เป็นการอาศัยแนวความคิดแต่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติให้เห็นจริง หรือทำครึ่ง ๆ กลาง ๆ แนวคิดแรก ยังไม่ได้ทำให้เป็นจริงเลย ก็ไปทำแนวคิดที่สองแล้วเป็นอย่างนี้เรื่อยไป อย่างนี้ถือว่าไม่ประสบผลสำเร็จ
               3. ทำเว็บไซต์ที่วิจิตรสวยงาม การทำเว็บไซต์ให้สวยงาม เน้นความเลิศหรูจนลืมแก่นแท้ของความต้องการผู้ใช้เว็บหรือกลุ่มเป้าหมายไป กล่าวคือไม่ให้ความสำคัญแก่กระบวนการที่จะให้บริการลูกค้าผู้ใช้เว็บอย่างมีประสิทธิภาพ การได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และรวดเร็วจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งเราต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ก่อนที่จะไปตกแต่งโฮมเพจให้สวยงาม
               4. ทำเว็บไซต์แบบไร้ทิศทาง การทำเว็บไซต์ที่นึกอะไรได้ก็ทำไปเรื่อยเปื่อย ไม่ได้นึกถึงความเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์กัน อันจะก่อให้เกิดคุณค่าสูงสุดแก่ผู้ใช้งาน การทำเว็บไซต์ที่ดีนั้น หลักการคือต้องทำให้เกิดการเสริมกัน หรือ synergy คือทุกอย่างต้องเกื้อหนุนและมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน หรือในลักษณะครบวงจร (one-stop service) มาที่นี่ที่เดียวได้ครบหมดทุกอย่าง
               5. ไม่มีระบบสนับสนุนพื้นฐานที่เพียงพอ การไม่มีระบบสนับสนุนพื้นฐานที่เพียงพอ คือเป็นประเภท ที่ได้แต่คิด แต่อาจจะไม่ได้มองว่า ระบบหรือเทคโนโลยีสนับสนุนหรือไม่ พอทำไปแล้วครึ่งทางถึงได้รู้ว่า มันไม่มีซอฟต์แวร์หรือเครือข่ายสนับสนุนได้อีกประการหนึ่งก็คือ ไม่ได้จัดหาทั้งคน ทั้งระบบ ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เตรียมพร้อมไว้ สำหรับการรองรับการขยายตัว ทำแล้วขยายตัวไม่ได้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการขยายตัวเพื่อเข้าสู่จุดคุ้มทุนและทำกำไร ซึ่งในสภาพเช่นนี้ไม่มีทางเลือกที่ท่านจะประสบความสำเร็จ
               6. ทำงานได้ทีละอย่าง การทำงานได้ทีละอย่าง กล่าวคือไม่สามารถจัดการกับการงานได้พร้อม ๆ กันหลายงาน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับการบริหารโครงการธุรกิจบนเว็บที่เราต้องทำงานได้หลาย ๆ รูปแบบในเวลาเดียวกัน จะทำที่ละเรื่องเมื่อเสร็จแล้วค่อยทำอีก เรื่องนี้จะไม่ทันกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากได้รับข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามาโดยตลาดจากทุกมุมโลก
               7. คิดเล็กเกินไป การดำเนินธุรกิจบนเว็บ นั้นถ้าหากคิดเล็กเกินไป ทำให้โครงการที่ทำออกมาไม่สามารถที่จะต่อยอดและขยายตัวออกไปได้ ทำให้ไม่สามารถจะสร้างยอดขายจำนวนมากให้คุ้มทุนได้ ทั้งนี้เพราะตลาดบนเว็บนั้นมันมีขนาดใหญ่มหาศาล ดังนั้นต้องคิดการใหญ่ มีการกำหนดทิศทางที่จะเติบโตไว้ด้วย
    นุชนาฏ บันทึกการเข้า
                 การดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องมีปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ (ศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2544)

                1. กล้าตัดสินใจ ประการแรกที่ต้องทำคือ ค้นคว้าหาข้อมูล สร้างจินตนาการ กลั่นกรองความคิด หาช่องทางและโอกาสเมื่อมองเห็น จงกล้าตัดสินใจดำเนินการ เพราะธุรกิจนี้ใช้เงินน้อยมาก เมื่อเทียบกับการเปิดร้านขายสินค้าในห้างสรรพสินค้า หรือตึกแถวทั่วไป และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การขายสินค้าบนเว็บนี้ สามารถขายให้คนได้ทั่วโลกและมีอากาศทั้งค้าปลีก ค้าส่ง และค้าส่งออกเป็นล็อตใหญ่ ฉะนั้น เมื่อเห็นโอกาสจงอย่ารีรอเป็นอันขาด
                2. หน้าที่หลักของท่าน คือ การคิดเรื่องการตลาด เมื่อตัดสินใจแล้วหน้าที่หลักคือ การวางแผนการตลาด คือจะขายให้ใคร ความต้องการและพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายนั้นเป็นอย่างไร จะวางตำแหน่งสินค้าอย่างไร จะต้องพัฒนาสินค้าอย่างไรเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้น จะตั้งราคาสินค้าเท่าใด จะขายผ่านช่องทางใด ตรงไปที่ผู้นำเข้า พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีกหรือผู้บริโภคโดยตรง และจะประชาสัมพันธ์เว็บ หรือมีรายการส่งเสริมการขายอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญมากกว่าการมีเทคโนโลยีดี ๆ ด้วยซ้ำ
                3. โปรแกรมด้าน e-commerce มีความพร้อมให้ใช้งานอยู่แล้วสำหรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น มีให้ใช้โดยทั่วไปอยู่แล้ว เช่น www.ecombot.com ซึ่งมีระบบครบถ้วนสมบูรณ์อยู่แล้ว ทั้งหน้าร้าน หรือออกแบบเว็บเพจให้มี ระบบออนไลน์แคตาล็อค ระบบตระกร้า หรือ shopping cart ระบบรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตแบบ real-time ระบบติดตามผลการขาย ระบบออกรายงานขาย ระบบลงทะเบียน search engines เป็นต้น ฉะนั้น หน้าที่ของท่านก็เพียงแต่นำเอาข้อมูลสินค้า ราคา รูปภาพที่เตรียมไว้แล้วป้อนเข้าสู่ระบบเท่านั้น ก็สามารถเปิดใช้งานได้ทันที
                4. ใช้งบประมาณลงทุนน้อย เงินลงทุนที่ใช้เพียงค่าสมาชิกอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ โมเด็ม และค่าโปรแกรม e-commerce นอกจากนี้ยังมีการซื้อโปรแกรมระบบ e-commerce ในอัตราเดือนละไม่ถึง 500 บาท ก็เป็นอันเสร็จสิ้น แต่หากท่านไม่มีคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และไม่ได้เป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ต เลยก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนี้ ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 25,000 บาท ค่าโมเด็ม ประมาณ 3,000 บาท และค่าสมาชิกอินเทอร์เน็ตประมาณเดือนละ 500 บาท หรือรวมเบ็ดเสร็จแล้วลงทุนทั้งหมดอยู่ในราว 30,000 บาท
                5. เร่งงานให้เสร็จตามกำหนด เวลาในการลงมือทำงานแล้ว สิ่งสำคัญต้องเร่งทำเดินงานให้เสร็จทันตามเวลา ไม่ควรเรื่องมาก หรือเขียนคิ้วทาปากให้กับเว็บ ทำการทดสอบสินค้าและราคาก่อน เพราะสาระสำคัญทางการค้ายังมีเรื่องที่ต้องทดสอบอีกมาก และก็ไม่มีใครสนใจความสวยงามของเว็บท่านมากนัก เพราะเขามาซื้อสินค้าไม่ใช้มาซื้อเว็บของท่าน อย่าลืม "เรียบง่าย ดูดี น่าเชื่อถือ" เป็นสำคัญ

      กลยุทธ์การทำตลาดเว็บไซต์เพื่อ e-commerce

                 สังคมแห่งยุคเทคโนโลยีสารสนเทศนับวันจะเจริญก้าวหน้าแบบก้าวกระโดด ทุกวิชาชีพล้วนแล้วแต่มุ่งสู่สังคมอินเทอร์เน็ต มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์หน่วยงานหรือบริษัทของตน นัยว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้ประชาชนได้เชื่อถือหน่วยงานเป็นเบื้องแรก และเริ่มนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการให้ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนเริ่มพัฒนาอย่างจริงจังเพื่อสร้างมูลค่าให้กับเว็บไซต์ (web site) มากยิ่งขึ้น จากจุดนี้เองในเมื่อบริษัทเริ่มมีเว็บไซต์เกิดขึ้น สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นหัวใจสำคัญในเบื้องแรกคือ จะทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย คลิกเข้ามายังเว็บไซต์บริษัทของเราเพื่อจะได้ตัดสินใจซื้อสินค้า หรือเลือกชมสินค้าได้ตามความพอใจ

      การสร้างเว็บไซต์ให้น่าสนใจ

                 ในการออกแบบเว็บไซต์ให้น่าสนใจนั้น เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะเป็นการดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคได้ ซึ่งหากเขาได้เห็นเว็บไซต์ของเราที่มีการออกแบบที่สวยงาม มีสิ่งที่สนองความต้องการของเขาแล้ว ก็จะทำให้เขาติดตามข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า ซึ่งองค์ประกอบที่ถือเป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบเว็บไซต์คือ การมีภาพประกอบที่สื่อถึงตัวสินค้า ผลิตภัณฑ์ที่เราจะนำเสนอ ภาพนั้นจะต้องมีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป เพราะจะทำให้การโหลดภาพช้า จนอาจทำให้ผู้บริโภคคลิกไปยังเว็บไซต์อื่นได้ นอกจากนี้ยังมีข้อความที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ใช้ตัวอักษรที่เป็นสากล กล่าวคือสามารถอ่านได้จากบราวเซอร์ทุกตัว ไม่ว่าจะเป็น netscape หรือ internet explorer เป็นต้น และปุ่มทั้งที่เคลื่อนไหว และไม่เคลื่อนไหว หรือแม้แต่กราฟิกนำทางเพื่อความสวยงามและเป็นเส้นนำสายตาให้น่าสนใจ ก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้เว็บไซต์น่าสนใจได้
                 นอกจากนี้อาจต้องมีสีสันต่าง ๆ รวมไปถึงการใส่ข้อมูลหรือ เนื้อหาที่เป็นเชิงมัลติมีเดีย เช่น วิดีโอ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือ Animation ต่าง ๆ เข้าไปในเว็บเพจด้วย แต่ต้องไม่มากจนเกินไป เพราะจะทำให้ช้าและไม่น่าติดตามได้ (ศุภชัย สุขะนินทร์, 2542 : 16)

                 การที่จะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น สิ่งหนึ่งจะต้องอาศัยพันธมิตร ก็คือเว็บไซต์ที่ให้บริการฝากลิงค์ หรือแลกลิงค์ หรือการไปแนะนำเว็บไซต์ของเรากับเว็บต่าง ๆ เช่น www.sanook.com หรือ www.hunsa.com นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเว็บที่สามารถที่จะฝากลิงค์ได้ เช่น www.thaitop.com www.catcha.co.th www.siamguru.com www.108-1009.com เป็นต้น ซึ่งจะต้องมองหาตำแหน่งที่เขียนว่า Add URL แล้วคลิกเข้าไปจะมีแบบฟอร์มให้กรอก เราก็จะต้องกรอก URL ตลอดจนรายละเอียดต่าง ๆ ที่จะแนะนำเว็บไซต์ และกด submit ก็จะสามารถเพิ่มเว็บไซต์ของเราเข้าสู่ฐานข้อมูลของเว็บต่าง ๆ เหล่านี้ได้ ซึ่งปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่ให้บริการแนะนำเว็บไซต์
                 ส่วนอีกประเภทหนึ่ง ถือเป็นพันธมิตรทางการค้า กล่าวคืออาจจะเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเหมือนกัน หรือธุรกิจเอื้อกัน ก็สามารถที่จะนำกราฟิกชื่อหรือสัญลักษณ์ของเว็บไซต์ต่าง ๆ มาไว้ในหน้าแรกของเว็บเรา เพื่อที่จะให้ผู้บริโภคคลิกเข้าอ่านได้ ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายและเป็นการประหยัดงบประมาณในการทำตลาดเว็บไซต์ได้อีกด้วย

      สร้างสังคมออนไลน์ภายในเว็บไซต์ของเรา

                 การที่จะให้ผู้บริโภคคลิกเข้ามาเว็บไซต์ของเรานั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก แต่เรื่องที่ยากกว่านั้นคือ การที่จะทำอย่างไรที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้ามาแล้วเกิดความสนใจเว็บเรา จนต้องจดจำหรือ Add URL ไว้ที่เครื่องของเขา หรือจะเข้ามาชมเป็นครั้งที่ 2 หรือครั้งต่อ ๆ ไป ถือเป็นการยากกว่า แต่หากเราสร้างสังคมออนไลน์ให้เกิดขึ้น เช่นมีการแจก e-mail ฟรี ก็จะทำให้คนเข้ามาเช็คเมล์ ซึ่งบางคนเช็คทุกวัน เว็บไซต์ของเราก็มีคนเข้าทุกวัน วันละหลาย ๆ ครั้ง หรือการให้บริการด้าน chat room เป็นการสนทนาออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมจากการสนทนาในลักษณะนี้ เช่น www.hunsa.com www.pantip.com เป็นต้น นอกจากนี้ก็สามารถที่จะทำสังคมออนไลน์ได้เช่น bulletin broad หรือการฝากข้อความในเรื่องที่สนใจและมีคนเข้ามาตอบ เช่น เว็บ www.sanook.com หรือ www.pantip.com เป็นต้น

      การแลกแบนเนอร์ให้กับเว็บไซต์

                 โดยปกติแล้วในการทำตลาดเว็บไซต์มีการขายพื้นที่ หากจะไปลงโฆษณาในเว็บไซต์อื่น กล่าวคือการนำแบนเนอร์ของเราให้ไปปรากฏในเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ก็จะเป็นการทำตลาดอย่างสำคัญให้กับเว็บไซต์ของเรา ซึ่งในปัจจุบันสามารถที่จะฝากแบนเนอร์ฟรี ได้ด้วย เช่น www.thaile.com และ www.thaibaner.com เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้จะต้องมีแบนเนอร์ที่ออกแบบไว้ในขนาดที่เขากำหนดคือ กว้าง 60 pixel ยาว 486 pixel หลังจากนั้นต้องกรอกรายละเอียดต่าง ๆ และนำแบนเนอร์ไปฝากไว้กับฐานข้อมูลของเว็บไซต์ดังกล่าว จากนั้นจะได้รับ code ทาง e-mail และจะต้องนำ code นั้นมาแปะไว้ในเว็บ index ของเรา หลังจากนั้นก็ทำการ up lode ไฟล์ขึ้น ไปบน server อีกครั้ง ฐานข้อมูลก็จะทำการสุ่มแบนเนอร์ให้แสดงยังเว็บของเรา และก็ไปแสดงในเว็บสมาชิกท่านอื่นด้วย ซึ่งถือเป็นการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ที่ไม่ต้องเสียงบประมาณในการโฆษณาแต่อย่างใด
                 นำเสนอเหตุการณ์สด ๆ ผ่านเน็ต (chat) เช่นการสัมภาษณ์สดการเสนอบริการแบบการ สัมภาษณ์สดผ่านแชต (chat) กับบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นวิธีการที่ดึงผู้เข้าชมจำนวนมหาศาล และยังจะช่วยทำให้คุณมีภาพเป็นผู้นำทางธุรกิจอีกด้วย ซึ่งอาจจะเป็นการเขียนฐานข้อมูลด้วยตนเอง หรือการใช้ห้องสนทนาฟรี แล้วนำโค้ตมาวางในเอกสารของเรา เช่น www.beseen.com เป็นต้น สำหรับเว็บไซต์ที่สร้างการสนทนาสด ๆ ผ่านเน็ตได้แก่ http://udmarket.cjb.net หรือ http://commarts.cjb.net หรือการถ่ายทอดสด เช่นเว็บ www.sabye.com ที่ทำการถ่ายทอดสดบั้งไฟพญานาคจากอ.โพนพิสัย ให้ชาวอินเทอร์เน็ตได้เป็นภาพกันสด ๆ เป็นต้น
      นุชนาฏ บันทึกการเข้า
      โฆษณาขายสินค้าออนไลน์
      « 3 เมื่อ: ต.ค. 15, 2009, 18:10:52 pm »
        โฆษณาขายสินค้าออนไลน์ (classified ad online)

                    การโฆษณาขายสินค้าออนไลน์ มีไว้สำหรับร้านค้าแบบออนไลน์ เป็นการนำแบนเนอร์ไปฝากไว้กับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเรา ซึ่งสามารถทำให้ผู้ชมเข้าชมเว็บไซต์ต่าง ๆ  แล้วคลิกเข้ามาหาเว็บเราได้ เช่น www.adlandpor.com www.classifind.com เป็นต้น

        นำจำนวนนับ (counter) มาแปะไว้ในเว็บไซต์

                    การที่จะรู้ว่ามีผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เราจำนวนเท่าไรนั้น สามารถที่จะหา code จากเว็บไซต์ที่ให้บริการ เช่น www.nectec.or.th www.beseen.com เป็นต้น เมื่อได้แล้วจะแจ้งรหัสทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และสามารถคัดลอกคำสั่งมาไว้ในเอกสารหลักของเรา และทำการอัปโหลดขึ้นไปอีกครั้ง เมื่อผู้ชมคลิกเข้ามาในเว็บไซต์ของเรา จะมียอดจำนวนนับสามารถที่จะบ่งบอกได้ถึงความสนใจในเว็บไซต์ และสามารถคาดคะเนแผนการตลาดที่จะพัฒนาเว็บไซต์ได้ในโอกาสต่อไป

        การใช้สื่ออื่นเพื่อประชาสัมพันธ์เว็บไซต์

                    เว็บไซต์ที่ทำการเปิดตัวใหม่ ๆ จะมีบริษัทรับทำประชาสัมพันธ์ให้ ซึ่งถือเป็นอาชีพใหม่ของนักการตลาด เนื่องจากเมื่อมีการค้า-ขายทางอินเทอร์เน็ตด้วยแล้ว สิ่งแรกเลยที่สินค้าจะไปถึงลูกค้าคือการที่จะทำอย่างไรให้เว็บไซต์ไปถึงผู้บริโภคได้ จึงมีบริษัทรับทำประชาสัมพันธ์ไอทีขึ้น (production house IT) ซึ่งเป็นบริษัทรับทำประชาสัมพันธ์แบบใหม่ ที่เป็นอาชีพใหม่ที่น่าสนใจ สำหรับนักการตลาดยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเว็บที่มีชื่อเสียงล้วนแล้วแต่อาศัยบริษัทเหล่านี้ช่วยประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ให้ทั้งสิ้น เช่น http://www.i-kool.com/ www.siam2you.com หรือแม้แต่ www.mweb.co.th ก็ซื้อตัวนักประชาสัมพันธ์ไอทีเข้าไปร่วมบริหารในองค์การในที่สุด
                    นอกจากนี้การประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ยังสามารถลงโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์กับสื่ออื่น ๆ ได้ เช่นสื่อโทรทัศน์ ซึ่งถือว่าเป็นสื่อที่่เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุดในขณะนี้ เช่นการเปิดตัวใหม่ของ www.i-kool.com ก็ทุ่มงบโฆษณาทางโทรทัศน์ให้ประชาชนสนใจ และเริ่มที่จะเป็นเว็บที่ติดตลาดได้ในที่สุด หรือการเข้าไปเป็นสปอนเซอร์ในรายการวิทยุ เช่น www.sanook.com ลงโฆษณาในรายการ เรดิโอโหวต เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ว่าจะเป็นนิตยสาร หนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่แผ่นพับ ป้ายประกาศต่าง ๆ ล้วนแล้ว แต่เป็นสื่อที่น่าสนใจสำหรับการเปิดตัวเว็บไซต์ หรือแม้แต่ป้ายหลังรถตุ๊ก ตุ๊ก ก็เคยเป็นสื่อที่เปิดตัวเว็บไซต์ให้ติดตลาดมาเป็นจำนวนมาก อีกสิ่งหนึ่งลืมไม่ได้คือ การพิมพ์ URL ลงในนามบัตร การ์ดอวยพร ของชำร่วยต่าง ๆ ของบริษัท เพื่อที่จะทำให้ผู้บริโภคจดจำเว็บไซต์ของเราได้ง่าย และสนใจติดตามเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา
                    นอกจากนี้ยังกลยุทธ์ต่าง ๆ มากมาย หรือยังไม่กล่าวมา ณ ที่นี้ ก็ถือเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ให้ประชาชนได้รับทราบ และสนใจที่จะติดตามเข้าเยี่ยมชม หรือเป็นลูกค้าสำคัญที่จะต้องเข้ามาเยี่ยมชมกิจการได้ในที่สุด ดังนั้นนักการตลาดยุคใหม่ จำเป็นต้องมีความรู้ด้านอินเทอร์เน็ต การเขียนเว็บไซต์เพื่อผลทางการตลาดของบริษัท อาจจะเป็นลักษณะการให้ความรู้ข่าวสารของบริษัท หรือสามารถที่จะขยายไปสู่การค้า-ขายสินค้าออนไลน์ได้ และสิ่งที่สำคัญเบื้องแรกคือ จะต้องให้ความสำคัญกับการทำการตลาดให้กับเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์เราอยู่รอดได้ กล่าวคือเมื่อมีผู้เข้าเยี่ยมชมมากก็จะสามารถที่จะหารายได้จากเว็บไซต์ได้อีกด้วย

        หลักการดำเนินธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต

                    องค์กรการขายในยุคสารสนเทศ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ให้สามารถเข้าสู่ตลาดได้ เพื่อกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด จากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2543 ถึงจำนวน 2.3 ล้านคน พบว่ามีขนาดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าปี พ.ศ. 2542 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ (เนคเทค, 2544) ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นองค์กรการขายควรตระหนักและให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้บริโภคด้านนี้ และปัจจุบันมีเว็บไซต์เพื่อการค้า (e-commerce) มากยิ่งขึ้น ดังนั้น องค์กรการขายในยุคตลาดออนไลน์จะต้องปรับเปลี่ยน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนในปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
                    1. พัฒนาเทคโนโลยีด้านการขายให้เท่าทันกับคู่แข่งขัน ในขั้นตอนนี้ผู้บริหารการขาย จำเป็นต้องวิเคราะห์ตลาด และคู่แข่งขันว่าม ีเว็บไซต์เพื่อการค้าแล้วหรือไม่ อย่างไร ถ้าหากมีแล้วเราจะเข้าไปแข่งขันได้อย่างไร หรือหากยังไม่มีจะมีวิธีการใดที่จะเข้าสู่ตลาดออนไลน์ได้ สิ่งหนึ่งคือการติดตามเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือการศึกษาเว็บไซต์เพื่อการค้าว่าแต่ละเว็บไซต์มีกลยุทธ์อย่างไร แล้วนำมาประยุกต์ใช้
                    2. จัดเตรียมเครื่องมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อสำรวจตลาด ความเป็นไปได้แล้ว จะต้องเตรียมเครื่องมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการค้าออนไลน์ กล่าวคือ จะต้องวิเคราะห์ว่าจะซื้อเทคโนโลยีหรือจะเช่า ซึ่งในการดำเนินการค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น มีดังนี้ เว็บไซต์ของบริษัท ซึ่งเป็นการพัฒนาเองหรือจ้าง หรืออาจจะเอาไปฝากไว้กับห้างสรรพสินค้าออนไลน์ เพื่อสะดวกในการพัฒนา เช่น ร้านค้าของ www.shoppingthai.com เป็นต้น
                    3. ฝึกอบรมพนักงานขาย ในการฝึกอบรมพนักงานขายนั้นควรที่จะให้มีความรู้ด้านอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ให้รู้ว่าจะประกอบธุรกิจได้อย่างไร และให้ความรู้ด้าน e-commerce ตลอดจน การให้บริการลูกค้า เช่น การนำเสนอขายผ่าน e-mail หรือการติดต่อลูกค้า แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
                    4. ดำเนินการทดลองขาย เป็นขั้นตอนของการทดสอบการขาย โดยการนำสินค้ามาวางไว้แล้วนำไปทดลองขายบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะต้องมีการสั่งซื้อออนไลน์ได้ และจำเป็นต้องมีระบบตะกร้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการสั่งซื้อ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงระบบความปลอดภัยด้วย หากไม่ได้พัฒนาเองก็ควรใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป เช่น www.ecombot.com เป็นต้น
                    5. ขั้นการประเมินผล เป็นขั้นตอนการติดตามความสำเร็จ ทิศทางความเป็นไปได้ ก่อนที่จะดำเนินการขายออนไลน์โดยแท้จริง ซึ่งองค์กรการขายอาจจัดตั้งฝ่ายจำหน่ายออนไลน์ขึ้นมาโดยตรง หรือใช้เป็นเครื่องมือในการให้บริการหลังการขายกับลูกค้าก็ได้ ซึ่งประสิทธิภาพของอินเทอร์เน็ตสามารถที่จะนำมาใช้เพื่อประโยชน์ด้านการขายได้อย่างดี
                    จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ตในยุคปัจจุบันมีคุณประโยชน์ และนำมาใช้ในการค้าขายสินค้าออนไลน์ได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในทางธุรกิจ ที่น่าสนใจในปัจจุบันคือการค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ e-commerce นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต ติดตามความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการยอมรับนวัตกรรม รู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                    พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายรวมถึงการค้าทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีีการสั่งซื้อ-ขาย และโอนเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ โดยทั่วไปแล้วหมายถึงการค้าแบบ "ซื้อมา-ขายไป" ในส่วนของหน้าร้าน (front office) ซึ่งมีหลายแบบ ได้แก่ การค้าระหว่างองค์กรธุรกิจกับองค์กรธุรกิจ (Business to Business--B-to-B) การค้าระหว่าง องค์กรธุรกิจ กับผู้บริโภค (Business to Consumer--B-to-C) และการค้าระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน (Consumer to Consumer--C-to-C)

                    การทำธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-business) หมายถึง การดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อินเทอร์เน็ต เป็นสื่อกลาง โดยมีการประยุกต์ใช้ในทุกกิจกรรมทั้งในส่วนของหน้าร้าน (front office) หรือเว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อค้าขาย และหลังร้าน (back office)
                    จุดประสงค์หลักของการนำเอาระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานด้านต่าง ๆ หรือในทุกส่วนของกระบวนการธุรกิจนี้ เพื่อลดต้นทุน ประหยัดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพ และขยายตลาด รูปแบบการค้าบนอินเทอร์เน็ตหรือ e-business model สามารถแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ คือ แบบซื้อมา-ขายไป (e-business store font) แบบสื่อกลางด้านข่าวสาร (informediary) แบบสื่อกลางด้านความไว้ใจ (trust intermediary) แบบขายเครื่องมือในการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-business enabler) การให้บริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน (infrastructure providers)
                    ในการประกอบธุรกิจแบบ e-commerce นั้นมีทั้งประสบผลสำเร็จ และล้มเหลว ในที่นี้จะกล่าวถึงเว็บที่ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก การลอกเลียนแบบ การอยู่กับความฝัน ทำเว็บไซต์ที่วิจิตรสวยงาม ทำเว็บไซต์แบบไร้ทิศทาง ไม่มีระบบสนับสนุน  พื้นฐานที่เพียงพอ ทำงานได้ทีละอย่าง คิดเล็กเกินไป

                    การดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องมีปัจจัยดังนี้ กล้าตัดสินใจ การคิดเรื่องการตลาด โปรแกรมด้าน e-commerce มีความพร้อมให้ใช้งานอยู่แล้ว ใช้งบประมาณลงทุนน้อยเร่งงานให้เสร็จตามกำหนดเวลา กลยุทธ์การทำตลาด เว็บไซต์เพื่อ e-commerce การสร้างเว็บไซต์ให้น่าสนใจ มองหาเว็บไซต์อื่นเพื่อที่จะฝากลิงค์ สร้างสังคมออนไลน์ภายในเว็บไซต์ของเรา นำเสนอเหตุการณ์สด ๆ ผ่านเน็ต (chat) เช่นการสัมภาษณ์สด การแลกแบนเนอร์ให้กับเว็บไซต์ โฆษณาขายสินค้าออนไลน์ (classified ad online) นำจำนวนนับ (counter) มาแปะไว้ในเว็บไซต์ การใช้สื่ออื่นเพื่อประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ องค์กรการขายในยุคตลาดออนไลน์ จะต้องปรับเปลี่ยน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนในปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ พัฒนาเทคโนโลยีด้านการขายให้เท่าทันกับคู่แข่งขัน จัดเตรียมเครื่องมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝึกอบรมพนักงานขาย ดำเนินการทดลองขาย และขั้นการประเมินผลการจำหน่ายบนอินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นการขยายตลาดลองรับการขยายตัวของตลาดออนไลน์


        ค้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2552. จากเว็บไซต์ www.tru.ac.th
        นุชนาฏ บันทึกการเข้า
        อุปกรณ์และวิธีการทำ E-commerce
        « 4 เมื่อ: ต.ค. 29, 2009, 11:27:52 am »
                    อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูล ระบบสื่อสารอาจเป็นระบบพื้นฐานทั่วไป เช่นระบบโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิทยุ โทรทัศน์ แต่ระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก เป็นระบบเปิดกว้าง โดยเป็นระบบเครือข่ายของเครือข่าย ที่เรียกว่า world wide web มาจากความเป็นเอกลักษณ์คือสามารถสร้างให้มี hyperlink จากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่งไป webpage อื่น หรือไป website อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถสื่อได้ทั้งภาพ เสียง และภาษาหนังสือที่หลากหลายซับซ้อน สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ทันทีทันใด ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถบันทึกเก็บไว้หรือนำใช้ต่อเนื่องได้ การประยุกต์ใช้ และกระแสตอบรับธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตจึงแพร่หลายภายในระยะเวลาอันสั้น
               
          E-Commerce ใช้ติดต่อกับลูกค้าได้หลายระดับ ธุรกิจกับลูกค้า ธุรกิจกับธุรกิจ ธุรกิจกับภาครัฐฯ สาระของการติดต่อจะมี 4 ประการ คือ
                    1. การขาย รวมการโฆษณา แสดงสินค้า เสนอราคา สั่งซื้อ คำนวณราคา
                    2. การชำระเงิน การตกลงวิธีชำระเงิน สั่งโอนเงิน ให้ข้อมูลบัญชีธนาคารที่ใช้ตัดบัญชี ตลอดจนเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ ๆ
                    3. การขนส่ง แจ้งวิธีการส่งมอบของ ค่าขนส่ง และสถานที่ติดต่อและระบบติดตามสินค้าที่ส่ง
                    4. บริการหลังการขาย การติดต่อภายในบริษัท เช่นระบบบัญชี คลังสินค้า ระบบสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบ สั่งผลิต ตลอดจนบริการลูกค้าหลังการขาย
                    5. บทบาทภาครัฐกับ E-Commerce

                    เนื่องจากการทำธุรกิจดังกล่าวมีการแข่งขันกันร้อนแรง ส่วนใหญ่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นไปได้ที่คู่ค้าอาจไม่เคยรู้จักติดต่อกันมาก่อน ปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากภาครัฐได้แก่ แผนกลยุทธ์การค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อมิให้เสียเปรียบเชิงการค้าในระดับโลก โครงสร้างการสื่อสารที่ดีและเพียงพอ กฎหมายรองรับข้อมูลและหลักฐานการค้าที่ไม่อยู่ในรูปเอกสาร ระบบความปลอดภัยข้อมูลบนเครือข่ายและระบบการชำระเงิน
                    E-Government เป็นอีกมิติหนึ่งของการให้บริการภาครัฐออนไลน์ที่จะเอื้อให้ธุรกิจ ประชาชน ติดต่อใช้บริการ ในกรอบบริการงานแต่ละด้านของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยให้บริการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์แก่สถาบันการเงิน กรมทะเบียนการค้าให้บริการจดทะเบียนการค้า เป็นต้น นอกจากนี้ การทำ e-procurement เพื่อการจัดซื้อจัดหาภาครัฐก็เป็นบริการที่ควรดำเนินการ เพราะจะช่วยให้เกิดความโปร่งใส และเป็นไปตามกรอบนโยบายของที่ประชุมเอเปคด้วย

          ความปลอดภัยกับ e-commerce
                    ระบบความปลอดภัยนับเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุด และมีเทคโนโลยีความปลอดภัยคือ Public Key ซึ่งมีองค์กรรับรองความถูกต้องเรียกว่า CA--Certification Authority ระบบนี้ใช้หลักคณิตศาสตร์คำนวณรหัสคุมข้อความจากผู้ส่งและผู้รับอย่างเฉพาะเจาะจงได้ จึงสามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้รับผู้ส่ง (authentication) รักษาความปลอดภัยของข้อมูล (confidentiality) ความถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนของข้อมูล (integrity) และผู้ส่งปฏิเสธความเป็นเจ้าของข้อมูลไม่ได้ (non-repudiation) เรียกว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (electronic signature)
                    ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการมีกฎหมายรองรับการทำธุรกรรมบนเครือข่าย ประเทศในยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายรองรับการทำธุรกิจดังกล่าว สำหรับในประเทศไทยก็เร่งจัดการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ โดยกฎหมาย 2 ฉบับแรกที่จะออกใช้ได้ก่อนคือ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

          การชำระเงินบน e-commerce
                    จากผลการวิจัยพบว่า วิธีการชำระเงินที่สำคัญสำหรับกรณีธุรกิจกับธุรกิจ ร้อยละ 70 ใช้วิธีหักบัญชีธนาคาร ขณะที่ธุรกิจกับผู้บริโภคร้อยละ 65 ชำระด้วยบัตรเครดิต
                    สำหรับในประเทศไทย ผลการสำรวจพบว่าผู้สั่งสินค้าบนอินเทอร์เน็ตร้อยละ 40-60 ใช้บัตรเครดิต อีกร้อยละ 40 ใช้วิธีโอนเงินในบัญชี ซึ่งหมายความรวมถึง Direct Debit, Debit Card และ Fund Transfer

          เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ระบบการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต มีแนวทางการพัฒนาเพื่อบริการชำระเงินดังนี้         
                    1. บริการ internet banking และ/หรือธุรกิจประเภท payment gateway จะเป็น hyperlink ระหว่าง website ของร้านค้ากับระบบของธนาคาร และธนาคารสามารถดำเนินการตามข้อมูลที่ได้รับเพื่อตัดโอนเงินในบัญชีของลูกค้า หรือส่งเป็นคำสั่งโอนเข้าระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน
                    2. สำหรับการชำระเงินที่เป็น micro payment การใช้เงินดิจิทัลซึ่งบันทึกบนบัตรสมาร์ตการ์ด หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสร้างเสริมระบบความปลอดภัยให้มั่นใจได้เหนือกว่าระบบบัตรเดบิตและบัตรเครดิตทั่วไป จึงเป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่น่าสนใจและเหมาะสม

          ไม่มีความคิดเห็น:

          แสดงความคิดเห็น