วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

ความหมายของอินเตอร์เน็ต

      • อินเทอร์เน็ต(Internet) คืออะไร


    อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก หรือทั้งจักรวาล
    อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
    อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
    อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายของเครือข่าย (A network of network)
    สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้ออกมา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net
      Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง
      Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย
    เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลได้ว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

 


ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ ้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่



คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ต อาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่ - กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่


เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้

การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต




เราสามารถนำระบบเครือข่าย Internet มาประยุกต์ใช้กับการนิเทศการศึกษาได้หลากหลาย
และเกือบจะนับว่า Internet มีความจำเป็นอย่างยิ่งในระบบการศึกษาปัจจุบัน และในอนาคต ทั้งนี้จะเห็นได้จากสถาบันการศึกษาเกือบทุกสถาบัน ทั้งในระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา หรือแม้แต่ประถมศึกษา ได้มีการนำเทคโนโลยี Internet มาใช้ประกอบการเรียนการสอน และนำมาเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาความรู้สำหรับครู-อาจารย์ มากขึ้นโดยลำดับ บางสถาบัน ได้กำหนดให้มีการลงทะเบียนเรียน แจ้งผลการเรียน หรือแม้กระทั่งเรียนผ่านทาง Internet แล้ว ขณะนี้โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา ส่วนใหญ่สามารถที่จะเชื่อมต่อใช้งาน Internet ได้แล้วจากโครงการ SchoolNet และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น การนิเทศการศึกษาจึงไม่ควรจำกัดเฉพาะการนิเทศโดยตรงเท่านั้น การนำเทคโนโลยี Internet มาประยุกต์ใช้กับการนิเทศการศึกษา จึงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้การนิเทศการศึกษาขยายขอบข่ายได้กว้างขวางขึ้น การนำเทคโนโลยี Internet มาประยุกต์ใช้ในการนิเทศ อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น
1.การสร้างWeb page เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการนิเทศ และข้อมูลเทคนิคเกี่ยวกับการเรียนการสอนต่าง ๆ
2. การใช้ E-mail สำหรับตอบปัญหาในด้านการจัดการเรียนการสอนของครู-อาจารย์และนักเรียน 3. การใช้โปรแกรมที่สามารถติดต่อแบบ Real time เช่น ICQ ตอบปัญหาข้อข้องใจของครู-อาจารย์ และ นักเรียน หรือใช้สำหรับประชุมทางไกล
4. การสร้างชุดการสอน หรือ CAI บน Internet ในรูปแบบของ Web page การสร้าง Web page วิธีการนี้เหมาะสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
หรือเพื่อประโยชน์ด้านใดด้านหนึ่ง ผู้ที่จะสร้าง Web pageได้จะต้องเป็นผู้มีความรู้ทางการเขียน
โปรแกรม ภาษา HTML (Hypertext Markup Languaqe) บ้างพอสมควร ปัจจุบัน Web page ของไทยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามีอยู่มากมาย เช่น
Web site ของ โรงเรียนต่าง ๆ ในโครงการ SchoolNet
Web site ของกระทรวงศึกษาธิการ , กรมสามัญศึกษา , หน่วยศึกษานิเทศก์
Web site ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หมายเหตุ
Web page หมายถึง หน้าเอกสารแต่ละหน้าที่แสดงผ่านทาง Browser
Home page หมายถึง Web page หน้าแรกของเอกสารที่แสดงผ่านทาง Browser
Web site หมายถึง ข้อมูลทั้งหมดที่แสดงผ่านทาง Browser ซึ่งประกอบด้วย Home page
และ Web page ทั้งหมด Web site เหล่านี้ ผู้สร้างสามารถกำหนดให้ผู้ใช้หรือผู้เยี่ยมชม
สามารถสำเนาข้อมูล แฟ้มเอกสาร หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ไปใช้งานได้ หรือกำหนดให้ส่ง
E-mail ถึงเจ้าของหรือผู้ดูแลระบบได้ทันที
ดังนั้น วิธีการนิเทศในรูปแบบของการใช้ Web page สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในกรณีที่ต้องการเผยแพร่เอกสารทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนหรือนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ได้ E-mail กับการนิเทศ ศึกษานิเทศก์ สามารถให้การนิเทศได้ทั้งทางตรง และทางอ้อม การนิเทศทางอ้อมที่ประหยัด รวดเร็ว ไม่จำกัดช่วงเวลา ได้แก่การใช้ E-mail ในการติดต่อสื่อสาร ซี่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลที่จะประยุกต์นำไปใช้ เพราะ E-mail ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเขียนจดหมายโต้ตอบกันเท่านั้น แต่ยังสามารถที่จะส่งแฟ้มเอกสาร แฟ้มรูปภาพ และแฟ้มข้อมูล ต่าง ๆ ได้อีกด้วย การใช้โปรแกรมที่ติดต่อกันแบบReal time เช่น โปรแกรม ICQ เราสามารถใช้โปรแกรม ICQ ให้เป็นประโยชน์ต่อการนิเทศก์ ได้ในลักษณะเดียวกับ       E-mail ครู-อาจารย์ หรือนักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน สามารถที่จะพูดคุยโต้ตอบกันได้ทันที และสามารถสื่อสารพร้อมกันได้หลาย ๆ คน

ประโยชน์และโทษของอินเตอร์เน็ต

โทษของอินเทอเน็ต


  1. โรคติดอินเทอเน็ต(Webaholic)

อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?

หากการเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน หรือแม้แต่ทำลาย นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบ กับบรรทัดฐาน ซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) คำว่า อินเตอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเตอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่น AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต


    • รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
    • มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
    • ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
    • รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
    • ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
    • หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
    • การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
    • มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
    • ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้


สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัย ผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับ การเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหาร หรือสุราเรื้อรัง มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ

  1. เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอเน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอเน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สือ่เหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้

    • รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
    • มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
    • ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
    • รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
    • ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
    • หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
    • การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
    • มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
    • ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้


ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา
  • ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
    ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆกัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้น ไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย
  • หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
  • ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆมาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542

 
 
 
ประโยชน์
 
 
อินเตอร์เน็ตประกอบไปด้วยบริการที่หลากหลาย ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้งานบริการมากมาย โดยสามารถค้นคว้าข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น งานวิจัย บทความในหนังสือพิมพ์ ความก้าวหน้าทางวิชาการได้จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก เช่น ห้องสมุด สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการเดินทางและสามารถสืบค้นได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ได้ทั่วโลกและอย่างรวดเร็วจากการรายงานข่าวของสำนักข่าวสารต่างๆ รวมทั้งอ่านบทความเรื่องราวที่ลงในนิตยสารหรือวารสารต่างๆ สามารถรับ – ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้อย่างโดยไม่ต้องเสียเงินค่าตราไปรษณีย์ยากร ถึงแม้จะเป็นการส่งข้อความไปต่างประเทศก้ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเหมือนการส่งจดหมาย การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้นอกจากจะส่งข้อความตัวอักษรแบบจดหมายธรรมดาแล้วยังสามารถส่งแฟ้ม ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงพร้อมกันไปได้ด้วย สามารถสนทนากับผู้อื่นที่อยู่ห่างไกลได้ทั้งในลักษณะการพิมพ์ข้อความและเสียง ร่วมกลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าวเพื่อแสดงความคิดเห็น หรือพูดคุยถกปัญหากับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันเป็นการขยายวิสัยทัศน์ในเรื่องที่สนใจนั้นๆ การถ่ายโอนแฟ้มข้อความ ภาพและเสียงจากที่อื่นๆรวมทั้งโปแกรมต่างๆ ได้จากแหล่งที่มีผู้ให้บริการ ตรวจสอบราคาสินค้าและสั่งซื้อ รวมทั้งบริการหลากหลายรูปแบบ เช่น การดูหนัง ฟังเพลง ราการวิทยุ การชมรายการโทรทัศน์ให้ผู้อื่นทราบอย่างทั่วถึง ให้เสรีภาพในการสื่อสารทุกรูปแบบแก่บุคคลทุกคน

บัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเตอร์เน็ต

บัญญัติ 10 ประการ ของการใช้อินเทอร์เน็ต
มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต เรียกว่าบัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ตก็ได้ โดยอาจารย์ยืน ภู่วรวรรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
  • ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
  • ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
  • ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
  • ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
  • ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
  • ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
  • ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
  • ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
  • ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบกติกาและมีมารยา

หน่วยงานที่มีบทบาทมนอินเตอร์เน็ตของประเทศไทย

....หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย....



ISP คงเป็นหน่วยงานแรกที่หลายๆ คนคงคิดถึงเมื่อนึกถึงหัวข้อนี้ รองลงไปก็คงเป็นเนคเทค ซึ่งก็ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วย ดังนี้
การสื่อสารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ผูกขาดบริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ ผู้ให้ใบอนุญาต และถอดถอนสิทธิการให้บริการของ ISP รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนของ ISP ทุกราย (32%) รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ
ISP - Internet Service Providers หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั้ง 17 ราย (พ.ย. 2545) ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลและองค์กรต่างๆ
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่หวังกำไร เช่น SchoolNet ที่ให้บริการโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ, ThaiSarn ผู้ให้บริการเชิงวิจัยสำหรับสถานศึกษา, UniNet เครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย, EdNet เครือข่ายของกระทวงศึกษาธิการ และ GINet เครือข่ายรัฐบาล
THNIC ในฐานะผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย (.th) และผู้ดูและบบบริการสอบถามชื่อโดเมนสัญชาติไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ AIT
NECTEC หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในฐานหน่วยงานวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และในฐานะผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ ผู้ดูแลเครือข่าย Thaisarn, SchoolNet, GINet และในฐานะคณะอนุกรรมการด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตสำหรับประเทศไทย
ผู้ให้บริการวงจรสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีหลายรายเช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย, บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทเอกชนอื่นๆ

แนวโน้มการใช้อินเตอร์เน็ต

แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ต
เป็นที่แน่นอนแล้วว่าในอนาคต อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีส่วนร่วมกับชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น และจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรูปแบบใหม่ ดังนี้
  • การคุยโทรศัพท์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Voice over IP) ซึ่งปัจจุบันองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ก็นำมาใช้ผ่านหมายเลข 1234 ทั่วประเทศ (ต้นปี 2545)
  • การคุยระยะไกลแบบมีภาพและเสียงของคู่สนทนา (Voice conference)
  • การนำอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์กับเครือข่ายเคเบิ้ลทีวี (Web TV & Cable MODEM)
  • การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน (Internet Device)

แบบทดสอบบทที่1

บทที่ 2 การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต



เมื่อท่านต้องการเข้าใช้บริการต่าง ๆในอินเตอร์เน็ตนั้นท่านจำเป็นต้องทำการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเชื่อมต่อที่นิยมกันมีอยู่สามประเภทดังนี้
  • เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
  • เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
  • เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation
เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
วิธีการเชื่อมต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด แต่เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายแพงที่สุด ดังนั้นจึงเหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่เพราะมีงบประมาณมากพอ การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรงไม่ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ หรือ เครือข่ายอืน และเป็นการเชื่อมต่อตลอดเวลาคือ ตลอด 24 ชั่วโมง และ ทุกวัน จะใช้อินเตอร์เน็ตหรือไม่ใช้ก็จะเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ ทางหน่วยงานที่ต้องการใช้วิธีเชื่อมต่อแบบนี้ต้องจัดหาได้แก่
  • สายสัญญาณสื่อกลางอาจเป็นสายเช่าพิเศษ เช่น Leased Line, ISDN เป็นต้น
  • อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ Router ซึ่งทำหน้าที่เป็น Gateway สู่อินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่อทำได้โดยใช้อุปกรณ์ Routerทำการเชื่อมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือ เน็ตเวิร์กของหน่วยงานเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง สำหรับสายสัญญาณสื่อกลางนี้จะต่อไป ยังหน่วยงานผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือ Internet Service Provider (ISP) เนื่องจากว่า ISP มีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อเชื่อมต่อแล้วคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์ก ของหน่วยงานนั้น ก็จะสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา

การปรับแต่งคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต

การปรับแต่งคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานอินเตอร์เน็ต

สำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อใช้งานภายในบ้าน  จำเป็นจะต้องมีส่วนประกอบสำคัญที่จะสามารถเชื่อมต่อระหว่างผู้กับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ
  1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
  2. โมเด็ม
  3. โปรแกรมสำหรับการใช้งานอินเตอร์เน็ต
  4. วิธีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
  5. การเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
  1. เมนบอร์ด  มีประสิทธิภาพสูงพอสมควรในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในทั่วไป  จะมีซีพียูรุ่น   Celeron, Pentium iv  และ amd  ซีพียุเหล่านี้จะรองรับการใช้งานระบบมัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการ์ดจอ  การ์ดเสียง  และลำโพง
  2. หน่วยความจำแรม  จะขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ใช้ แต่อย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า  64-128   mb   ในปัจจุบันนิยมใช้   windows xp  หน่วยความจำแรมไม่ต่ำกว่า 256  mb 
  3. จอภาพและการ์ดแสดงผล    สามารถแสดงผลได้ตั้งแต่ 256  สีขั้นไป 
  4. ระบบมัลติมิเดีย คือ การ์ดเสียงพร้อมลำโพง  เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกรุ่นจะมีให้เฉพาะ การ์ดเสียง  และลำโพงเท่านั้น   อุปกรณ์เสริมอื่นๆ คือ  ไมโครโฟน และกล้องเว็บแคม ผู้ใช้จะต้องหาเพิ่มเติมเองเมื่อต้องการใช้งาน


โมด็ม
        โมเด็ม  หรือ  ( modulator/demodulator)  มีหน้าที่แปลงข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล ของระบบคอมพิวเตอร์ให้เป้นสัญญาณเสียงในรูปแบบแอนะล็อก เพื่อให้สามารถส่งไปทางโทรศัพท์ได้  การ  modulate โดยที่ปลายทางก็จะมีโมเด็มทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงในรูปแบบแอนะล็อก   ซึ่งรับมาจากโทรศัพท์ให้กลับมาเป็นข้อมูลแบบดิจิทัล เพื่อใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์  เรียกว่า   demodulate  เนื่องจากสายโทรศัพท์ส่วนใหญ่จะสามารถส่งข้อมูลได้ ไม่เกิน 56 kbps   โมเด็มแบ่งออกเป็น  3  ประเภท 
  1. โมเด็มแบบภายใน
  2. โมเด็มแบบภายนอก
  3. โมเด็มแบบ  pcmcia

 
โปรแกรมสำหรับการใช้งานอินเตอร์เน็ต

      1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ   จำเป็นมากสำหรับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกชนิด  เพราะจะเป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่างๆ ในระบบในระบบ หน่วยความจำ  การบันทึกข้อมูล และอุปกรณ์ต่อเชื่อมอื่นๆ 
         2.โปรแกรมเว็บบราว์เซอร์  คือ  โปรมแกรมที่ใช้เปิดเว็บเพจต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต   โปรมแกรมนี้จะสามารถมากมายที่จะเป็นประโยชน์ในการท่องเว็บ
      3.โปรแกรมรับส่งจดหมายอิแล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่ข้อมูลจดหมายโดยสร้างโฟลเดอร์สำหรับเก็บจดหมายไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
        4.โปรแกรมสำหรับการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต    ใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตด้วยกัน ในรูปแบบของการพิมพ์ข้อความโต้ตอบ เรียกว่า chat 
         5.โปรแกรมมัลติมีเดียบนอินเตอร์เน๊ต ใช้งานบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันมีหลากหลายรู้แบบ  ทั้งรูปภาพ  ภาพเคลื่อนไหว เสียง  วีดีทัศน์  


วิธีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต


          จะใช้โมเด็มแบบหมุนโทรศัพท์     เรียกว่า “dial –up’’  ทำหน้าที่แปลงข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของดิจิทัล ให้เป็นสัญญาณเสียงในรูปแบบแอนะล็อก เพื่อส่งข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ ความเร็วของการส่งข้อมูลอยู่ที่  33.6   kbps   และสำหรับการรับข้อมูลอยู่ที่  56  kbps
        การรับส่งข้อมูลแบบบรอดแบนด์ 
       1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ  isdn ( intergrated   services digital network )
       2.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ  adsl ( asymmetric digital subscriberv link )
       3.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบเคเบิลโมเด็ม ( cable  modem  )
       4.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านดาวทียม ( satellite )
         5.การเชื่อต่ออินเตอร์เน็ตแบบวงจรเช่า ( leased line )


1.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ  isdn 
        ถ้าต้องการใช้ระบบ  isdn    จะต้องขอหมายเลขโทรศัพท์ใหม่ที่เป็น isdn  การให้บริการ isdn แบ่งออกเป็น 2 ระดับ
           Bai   สำหรับผู้ใช้รายย่อย   ตามบ้านพัก หรือหน่วยงานขนาดเล็ก มีความเร็วเต็มที่ 128  mbps
        Pri    สำหรับองค์กรขนาดใหญ่โดยการเดินสายเคเบิลใยแก้วนำแสง จะมีช่องสัญญาณสำหรับการสื่อสาร 30  ช่องสัญญาณ แต่ละช่องมีความเร็วที่ 64  kbps

2.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ  adsl  การบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงโดยผ่านทาง สามารถ  ใช้กับการเชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์แบบเดิม สามารถเปลี่ยนสายโทรศัพท์ธรรมดาให้เป็นสายดิจิทัล มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง

3.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบเคเบิลโมเด็ม  มีความเร็วสูงที่ไม่ต้องใช้สายโทรศัพท์ อาศัยเครือข่ายเคเบิลจากผู้ให้บริการ   ถ้าต้องการใช้บริการแบบเคเบิลโมเด็มจะต้องใช้บริการของ  asia  net  การทำงานของเคเบิลโมเด็มจะคล้ายกับ  adsl  มีการเข้ารหัสสัญญาณดิจิทัลด้วยความถี่สูง แล้วส่งผ่านสายเคเบิลไปยัง ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต กรณีนี้สายโคแอกเซียลทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง

4.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม
 เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง มีผู้ให้บริการเพียงรายเดียว  cs  internet ในเครือชินคอร์ปอเรชั่นเจ้าของดาวเทียมไทยคม  การรัยข้อมูลด้วยสัญญาณความเร็วสูงมามายังผู้ใช้ในระดับเมกะบิตผ่านดาวเทียมโดยผู้ใช้จะต้องติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียม ส่วนการส่งข้อมูล ทำการผ่านทางโมเด็มและสายโทรศัพท์มีความเร็วแค่ 56   kbps    การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม เป็นช่องทางที่ถูกรบกวนได้ง่ายจากสภาพดินฟ้าอากาศควรเตรียมช่องทางอื่นในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไว้สำรองในการใช้งาน

5.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบวงจรเช่า 
การเชื่อมเอนเตอร์แบบ    leased  line  จะเหมาะกับการใช้งานสำหรับองค์กร สถาบันการศึกษา หรือระบบธุรกิจต่างๆที่มีผู้บริการเอนเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก โดยไม่ต้องหมุนโทรศัพท์เข้าไปยังศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตเพราะการเชื่อมแบบ  leased  line  จะเชื่อมกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตตลอด 24  ชั่วโมง
                ค่าใช้จ่ายในการเช่าต้องเป็นรายเดือน     โดยจะเสียค่าบริการตามความเร็วที่เช่าสายสัญญาณเป็นอัตราเดียวกันทุกเดือน และไม่ต้องเสียค่าบริการตามชั่วโมงการใช้งานอีก
                ในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีผู้ใช้บริการเอนเตอร์เน็ตจำนวนมาก จะนิยมการเชื่อมต่อเอนเตอร์เน็ตแบบนี้ เพราะสามารถใช้งานเอนเตอร์เน็ตได้โดยไม่จำกัดปริมาณการงาน  โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาต่างๆ จะต้องให้บริการแก่นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรในหน่วยงาน

การเลือกให้ผู้บริการเอนเตอร์เน็ต (isp)

โดยมีวิธีหลักการที่ต้องคำนึง  ดังต่อไปนี้
1.               ความน่าเชื่อถือ  ควรจะพิจารณาว่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตบริษัทนั้นมีความน่าถือในการให้บริการมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะสามารถหาข้อมูลได้โดยการสอบถามจากผู้เคยใช้บริการโดยตรง
2.               ประสิทธิภาพของระบบ  โดยพิจารณาจากความเร็วใยการรับส่งข้อมูล การเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์หลุดบ่อยหรือไม่  หรือในขณะที่เรากำลังทำการโอนย้ายข้อมูล  และเกิดสายโทรศัพท์หลุดก็จะทำให้เราต้องเสียเวลาในการโอนย้ายข้อมูลใหม่
3.               หมายเลขโทรศัพท์  ผู้ให้บริการเอนเตอร์เน้ตจะต้องมีช่องทางให้กับบริการด้วยโมเด็ม ดังนั้นจำนวนผู้บริการจะต้องสำพันธ์กับหมายเลขโทรศัพท์ที่จัดหาไว้
4.               อัตราการใช้โมเด็ม  ผู้ให้บริการเอนเตอร์เน็ตจะต้องมีคู่สายโมเด็มเพียงพอต่อการรองรับการใช้บริการของลูกค้า
5.               ค่าบริการ  โดยเราเลือกซื้อตามปริมาณการใช้งานของเราได้เพื่อให้คุ้มค่าต่อปริมาณค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไป
6.               ค่าธรรมเนียมต่างๆ  พิจารณาว่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแต่ละแห่ง นอกเหนืออัตราค่าบริการแล้วมีการคิดค่าธรรมเนียมอื่นๆ อีกหรือไม่
7.               บริการเสริม  ผู้บริการอินเตอร์เน็ตได้มีบริการเสริมอื่นๆ  ให้บริการอีกหรือไม่ เช่น  มีพื้นที่ว่างสำหรับการสร้าง Homepage และมี E – mail Address ให้ด้วยหรือไม่



การติดตั้งโปรแกรมเชื่อมต่อแบบ Dail-up Connection

การติดตั้งโปรแกรมเชื่อมต่อแบบ Dial-up Connection
การติดตั้งโปรแกรมเชื่อมต่อแบบ Dial-up  Connection

สำหรับ Windows XP

1. กดปุ่ม Start เลือก Control Panel จากนั้นดับเบิ้ลคลิก Network and Internet Connection
2. ดับเบิ้ลคลิก Network Connections
3.ดับเบิ้ลคลิก Create a new connection จากรายการทางด้านซ้าย
สำหรับ Windows XP แบบ Classic :
  1.กดปุ่ม Start จากนั้นเลือก Control Panel
  2.ดับเบิ้ลคลิก Network Connections
3.ดับเบิ้ลคลิก Create a new connection จากรายการด้านซ้าย
  4.จะแสดงหน้าต่าง Welcome to the Network Connection Wizard กดปุ่ม Next
5 . เลือกรายการ Connect to The Internet จากนั้นกดปุ่ม Next
6. เลือกหัวข้อ Set Up My Connection Manually จากนั้นกดปุ่ม Next
7.เลือกหัวข้อ Connect Using A Dial-Up Modem จากนั้นกดปุ่ม Next
8. พิมพ์ชื่อที่ต้องการตั้งสำหรับการเชื่อมต่อ เช่น Rally จากนั้นกดปุ่ม Next
9. ในช่อง Phone Number to Dial พิมพ์ หมายเลขโทรศัพท์  074316477 จากนั้นกดปุ่ม Next
10. สำหรับ On Internet Account Information
     พิมพ์รหัสผ่าน ในช่อง User คือ  moi
     พิมพ์รหัสผ่าน ในช่อง password  คือ moinet และ Confirm password
     นำเครื่องหมายถูกหน้าหัวข้อ Use the account name and password when anyone connects to the Internet from this computer                     
     ออกนำเครื่องหมายถูกหน้าหัวข้อ Make this the default Internet Connection ออก
     นำเครื่องหมายถูกหน้าหัวข้อ Turn on Internet Connection Firewall for this connection จากนั้นกดปุ่ม Next
11 เสร็จสิ้นการสร้าง Internet Connection กดปุ่ม Finish จากนั้นจะพบไอคอนสำหรับเชื่อมต่อ
12 สำหรับการติดตั้งค่าเพิ่มเติม คลิกขวาที่ Connection Icon กดปุ่ม Properties
จะเห็นข้อมูลที่ได้ติดตั้งค่าไว้ในเบื้องต้น แสดงรายการโมเด็มที่ใช้งาน (หากมีโมเด็มมากกว่าหนึ่งเครื่อง จะแสดง รายการทั้งหมด) กดปุ่ม Configure
13 ตั้งค่า Maximum speed (bps) เป็น 57600 จากนั้นกดปุ่ม OK
14  เลือกหน้าต่าง Networking ในหัวข้อแรกตั้งค่า PPP: Windows 95/98/NT4/2000, Internet สำหรับส่วนที่สองสำหรับเลือก protocol
สำหรับใช้งาน เลือกหัวข้อ   Internet Protocol (TCP/IP) กดปุ่ม OK จะกลับสู่ไอคอนสำหรับเชื่อมต่อ

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่อกับอินเทอเน็ต

1.อุปกรณ์

    1.1) คอมพิวเตอร์
    1.2) โมเด็ม (Modulator Demodulator Machine)โมเด็มคืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง (Impulse) ซึ่งสามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ทั่วไปได้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์นั้นจะเป็นสัญญาณอนาล๊อกส่วนสัญญาณข้อมูลที่มาจากคอมพิวเตอร์จะเป็นสัญญาณ ดิจิตอลทำให้ต้องใช้ โมเด็มในการแปลงสัญญาณอนาล๊อกเป็นดิจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล๊อกก่อน โมเด็มสามารถแยกได้เป็น 3 ชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้

  • โมเด็มแบบติดตั้งภายใน โมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกนำมาติดตั้งเข้ากับภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง รูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดนั้นๆโมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากพาวเวอร ์ซับพายที่มันต่ออยู่ทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลงต่างหากจากภายนอก ส่วนมากโมเด็มติดตั้งภายในจะทำการติดตั้งผ่านทาง Port อนุกรม RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง port อนุกรมรุ่นเก่าที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต่อทาง slot มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และเมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลืองเนื้อที่ภายนอกใดๆ เลย และโมเด็มสำหรับติดตั้งภายในจะมีจุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มโดยใช้ปลั๊กโทรศัพท์ธรรมดา แบบ RJ-11 และมีลำโพงประกอบด้วย
  • โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล้องสี่เหลี่ยมแบนๆภายในมีวงจรโมเด็มไฟสถานะและลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึงต้องมี adapter แปลงสัญญาณก่อนและจะมีสายต่อแบบ 25 ขา DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS - 232C 1
  • PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Asociation) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็ที่สุดคือ มีขนาดเท่าบัตรเครดิตรอละหนาเพียง 5 มิลเท่านั้นซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคโดย เฉพาะซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็วพอๆ กับโมเด็มที่ติตตั้งภายนอกและภายใน ในปัจจุบันนี้โมเด็มมีความเร็วสูงสุดที่ 56Kbps(Kilobyte per second)โดยจะใช้มาตรฐาน V.90 เป็นตัวกำหนด


โมเด็มชนิดติดตั้งภายในและภายนอก

โมเด็มแบบ PCMCIA


2.วิธีการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต


*แสดงการเชื่อมต่ออินเทอเน็ตผ่านสายโทรศัพท์


      เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการความเร็วมากน้อยเพียงใดในการติดต่อรวมทั้งสถานที่ที่เราใช้เครื่องของเราด้วยว่าห่างไกลจากศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องที่แจกจ่ายข้อมูลและก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณของผู้ใช้ว่าต้องการความเร็วหรือความสะดวกรวดเร็วมากน้อยเพียงใดด้วย ในปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสถาบันการศึกษาจะต้องเสียค่าบริการอินเทอร์เน็ตในอัตราที่ค่อนข้างสูง กล่าวกันว่าอัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตของบุคคลทั่วไปในประเทศไทยนี้สูงที่สุดในโลก ทั้งนี้ก็เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะถือว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็น คนร่ำรวยและ สามารถจ่ายค่าบริการจำนวนนี้ได้โดยไม่เดือดร้อน ทั้งนี้การเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ต นี้ยังคงเป็นการผูกขาดของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลการโทรคมนาคมระหว่างประเทศทั้งหมด การสื่อสารฯได้รายได้จากการผูกขาดนี้เป็นกอบเป็นกำ เหตุผลที่การสื่อสารมักจะอ้างก็คือว่า เนื่องจากผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตมีฐานะดี ดังนั้นจึงควรเก็บค่าบริการแพงๆเหมือนกับการเก็บภาษีกลายๆเพื่อเป็นทุนในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เหตุผลนี้ดูเหมือนจะมีน้ำหนักพอสมควร แต่ถ้าพิจารณาว่า การใช้จ่ายเงินของภาครัฐฯไม่มีความโปร่งใสใดๆ ให้ตรวจสอบได้อย่างจริงจัง ก็ไม่น่าเชื่อว่าข้ออ้างดังกล่าวนี้เป็นความจริง นอกจากนี้การอ้างว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นผู้ร่ำรวยเท่านั้นยังเป็นการแบ่งชนชั้นวรรณะอย่างโจ่งแจ้ง และเท่ากับว่าคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่คนรวยจะไม่มีวันสัมผัสกับอินเทอร์เน็ตได้ ความคิดเช่นนี้ไม่เอื้อต่อการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าได้เป็นอย่างยิ่ง ย้อนมาพูดถึงเรื่องการติดต่อกับอินเทอร์เน็ต ในขณะนี้เรามีวิธีติดต่ออยู่ 4 วิธี
    • การติดต่อแบบถาวร หรือ Permanent Connection การติดต่อแบบนี้เป็นแบบที่รวดเร็วที่สุด แต่ก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากที่สุดด้วยเช่นกัน ระบบเครือข่ายที่เรียกว่า Ethernet ซึ่งเป็นระบบฮาร์ดแวร ์ของเครือข่ายที่ใช้กันมากที่สุด สายที่เชื่อมต่อจากแม่ข่ายมายังอาคารอบรมนี้เป็นสายใยแก้วนำแสง ซึ่งให้ความเร็วข้อมูลสูงมาก
    • การติดต่อโดยตรงเมื่อต้องการ หรือการติดต่อโดยตรงผ่านสายโทรศัพท์ (On Demand Permanent Connection) การติดต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดถ้าเครื่องของเราไม่ได้ติดต่อโดยตรงโดยเครือข่าย แบบ Ethernet วิธีการก็คือเราใช้สายโทรศัพท์ธรรมดาที่เราใช้กันอยู่เป็นเส้นทาง ในการเชื่อมโยงข้อมูลแทน การที่คอมพิวเตอร์ติดต่อกันโดยผ่านสายโทรศัพท์จำเป็น ที่จะต้องมีอุปกรณ ์อันหนึ่งเรีกว่า "โมเด็ม" (modem) ซึ่งทำหน้าที่แปรข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นข้อมูลแบบดิจิตัล เป็นสัญญาณโทรศัพท์ซึ่งเป็นสัญญาณแบบอนาล็อก และนอกจากโมเด็มแล้วก็จะต้องมีโปรแกรมพิเศษ อีกโปรแกรมหนึ่งเพื่อทำให้เครื่องของเราทำงานเป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตจริงๆ โปรแกรมนี้ก็เป็นภาษาเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ตอีกภาษาหนึ่ง เรียกว่า "PPP" ซึ่งย่อมาจาก Point-to-Point Protocol การใช้โปรแกรมนี้ทำให้เครื่องของเราสามารถทำงานได้ทุกอย่าง เช่นเดียวกับที่เครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องที่ต่อกับแม่ข่ายด้วย Ethernet ทำได้ เพียงแต่ว่าสายโทรศัพท์ นั้นจะเท่ากับมีการพูดสายอยู่ตลอดเวลาที ่เราต่อกับระบบอยู่ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตมักจะเรียกการบริการแบบนี้ว่า "แบบรูปภาพ" หรือ Graphic Service เนื่องจากการติดต่อแบบนี้ทำให้เราสามารถดึงเอาข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือ เสียงมาดูหรือฟังได้โดยตรง
    • การติดต่อแบบเทอร์มินัล (Dial-Up Terminal Connection) การใช้โปรแกรม PPP นี้จำเป็นต้องอาศัยเครื่อง ที่มีสมรรถนะสูงพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราใช้โปรแกรมใหม่ๆสำหรับค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต แต่ถ้าเราไม่มีเครื่องแบบนั้น เราก็ยังไม่หมดหวังเสียทีเดียว เนื่องจากยังมีการติดต่ออีกวิธีหนึ่ง ได้แก่การติดต่อแบบเทอร์มินัล ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องเร็วๆแต่อย่างใดเลย วิธีการนี้ก็คล้ายคลึงกับวิธีที่สองตรงที่เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยใช้โมเด็ม แต่แตกต่างกันที่ในการต่อแบบนี้เครื่องของเรามีฐานะเป็นเพียงจอของเครื่องที่เราต่อไปหาเท่านั้น เครื่องของเราไม่มีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตแต่ประการใด แต่ในขณะที่เราใช้การติดต่อแบบนี้อยู่นั้น การประมวลผลของเครื่องไม่มีบทบาทอะไรเกี่ยวกับการติดต่อนี้เลย นอกจากบทบาทเล็กน้อยเวลาเราถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องที่เราต่อไปหากับเครื่องของเราเท่านั้น โปรแกรมที่ใช้สำหรับการติดต่อแบบนี้ก็เป็นโปรแกรมสั่งงานโมเด็มตามปกติ เช่น Procomm หรือ Terminal ใน Windows หรือ Zterm ในเครื่องแมคอินทอช การติดต่อแบบนี้ก็ทำให้เราสามารถติดต่อกับทุกๆ ส่วนของอินเทอร์เน็ตได้ เพียงแต่ว่าเราต้องใช้วิธีการบางอย่างเปลี่ยนข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวอักษรมาเป็นไฟล์ที่ใช้งานได้ ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตมักเรียก การบริการแบบนี้ว่า "ตัวอักษรล้วนๆ" (Text only) เนื่องจากการติดต่อมีแต่ทางตัวอักษรเท่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถดึงเอาข้อมูลชนิดอื่นมาได้
    • การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection ) การติดต่อแบบนี้เป็นวิธีที่มีข้อจำกัดมากที่สุด แต่ก็ประหยัดทรัพยากรมากที่สุดด้วยเช่นกัน วิธีนี้เกือบจะเหมือนกับแบบที่สาม ต่างกันเพียงแค่ว่าเราใช้บริการได้แต่เพียงไปรษณีย์อิเล็กโทรนิกส์ หรืออีเมล์เท่านั้น ไม่สามารถใช้บริการอื่นๆบนอินเทอร์เน็ตได้ (เช่น การถ่ายโอนข้อมูล การสืบค้นข้อมูลบนเวิร์ลไวด์เว็บ ฯลฯ) บริการอย่างเดียวที่เราใช้ได้ก็คือ ไปรษณีย์อิเล็กโทรนิกส์

การยกเลิกการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

การยกเลิกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

ถ้าคุณใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์ คุณต้องยกเลิกการเชื่อมต่อทุกครั้งที่เสร็จสิ้นการใช้อินเทอร์เน็ต ถ้าคุณใช้การเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ คุณจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่เสมอ ไม่ว่าจะใช้เว็บหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นเมื่อคุณปิดเว็บเบราว์เซอร์ คอมพิวเตอร์ของคุณจะยังคงเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่

การยกเลิกการเชื่อมต่อจากการเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์

  • คลิกไอคอน การเชื่อมต่อรูปภาพของไอคอนการเชื่อมต่อ ในพื้นที่แจ้งให้ทราบ ให้คลิกชื่อการเชื่อมต่อ แล้วคลิก ยกเลิกการเชื่อมต่อ

การปิดใช้งานการเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์

แม้ว่าการเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์จะเปิดอยู่เสมอ แต่ในบางครั้งคุณอาจจำเป็นต้องปิดใช้งานเพื่อการแก้ไขปัญหา
  1. เปิด 'การเชื่อมต่อเครือข่าย' ด้วยการคลิกปุ่ม เริ่มรูปภาพของปุ่ม 'เริ่ม' แล้วคลิก แผงควบคุม ในกล่องค้นหา ให้พิมพ์ อะแดปเตอร์ จากนั้นภายใต้ 'ศูนย์เครือข่ายและการใช้ร่วมกัน' ให้คลิก ดูการเชื่อมต่อเครือข่าย
  2. คลิกขวาที่การเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ แล้วคลิก ปิดใช้งาน ต้องการสิทธิระดับผู้ดูแล ถ้าคุณได้รับพร้อมท์ให้ใส่รหัสผ่านของผู้ดูแลหรือการยืนยัน ให้พิมพ์รหัสผ่านหรือทำการยืนยัน

แบบทดสอบบทที่ 2

บทที่ 3 ท่องโลกอินเตอร์เน็ต

ท่องโลกอินเตอร์เน็ต


ความหมายของอินเตอร์เน็ต
    อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่างๆ จากทั่วมุมโลกเข้าด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชการและเอกชน ซึ่งมีข้อมูล
มากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
 

เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Wed : WWW)

ความหมายเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web :WWW)

WWW (World Wide Web) หรือ เครือข่ายใยแมงมุม จะเป็นตัวช่วยให้การท่องไปในโลก    อินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งาน เพราะมีการแสดงผลแบบ Hypertext ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งเมื่อเข้าใช้งาน แล้วจะทำให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเกิดความสะดวกสบายในการใช้งาน ในการใช้งาน WWW จะทำให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมีความรู้สึกเสมือนหนึ่งว่าข้อมูลที่มีอยู่ใน ทุกมุมโลกนั้น อยู่เพียงแค่ปลายมือ ที่สามารถค้นหาได้ภายในไม่กี่นาที
เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web)
ความหมายและประเภทของ Domain name
           โดเมนเนม (Domain Name) เป็น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบของอินเทอร์เน็ตดังนั้น เพื่อให้เข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโดเมนเนม  จะต้องรู้เรื่องพื้นฐานและคำศัพท์เบื้องต้นในโลกของอินเทอร์เน็ตอย่างก่อน โดยเริ่มตั้งแต่คำว่า  WWW  หรือ World Wide  Web  หรือ Web  หรือ W3  ซึ่งเปรียบได้กับห้องสมุดที่ให้ใคร ๆ   เข้ามาศึกษาค้นหาข้อมูล หรือมีข้อมูลสำหรับนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาวางแล้วให้ผู้ที่สนใจเข้ามา ศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุด  WWW  ซึ่งจะแตกต่างจากห้องสมุดทั่ว ๆ  ไปตรงที่เป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เป็นประมาณ  Electronics  Library  หรือ e-library  นั่นเองและที่สำคัญคือ  ทั้งโลกมีอยู่ห้องเดียว  ดังนั้น  ถ้าคุณเข้ามาหาอะไรแล้วไม่เจอ ก็ไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปหาที่ห้องสมุดอื่น ๆ ให้อีกหาอยู่ที่  e-library ที่เดียวมีทุกอย่างที่ต้องการ  โดเมนเนม เป็นชื่อที่ขอจดทะเบียนไว้เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเรียกใช้งาน อินเทอร์เน็ต ไม่ได้เป็นชื่อหรือตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูลบนอิน เทอร์เน็ต

ส่วนประกอบของโดเมนเนม
  โดเมนเนมจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 สับโดเมน (Sub Domain Name)
ส่วนที่ 2 Second – Level Domain Name
ส่วนที่ 3 Top – Level Domain
 
ความเป็นมาของโดเมนเนม (Domain Name )

         อินเทอร์เน็ต (Internet) เริ่มต้นมาจากโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการศึกษาและระบบเครือข่าย ที่รู้จักกันดีในนามของโครงการ “ARPANET” ซึ่งระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานตรงนี้ก็คือ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocol) โดยใช้ระบบปฏิบัติการ IUNIX ซึ่งช่วยให้การเชื่อมโยงสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้รับความสนใจจากคนทั่ว โลก
        ในระยะแรก การใช้งานในอินเทอร์เน็ตไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก  เพราะเครื่องที่อยู่ใน เครือข่ายมีไม่มาก  แต่ต่อมาเมื่อมีคนสนใจและมีเครือข่ายการใช้งานที่กว้างมากขึ้น  ก็เลยทำให้เกิดความต้องการในการใช้ชื่อที่ง่ายและไม่ซับซ้อน จำง่าย แทนที่จะใช้ในลักษณะของ IP Address ซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่ใช้อยู่   ซึ่งทำให้เกิดการศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องของ “Name Server” ขึ้นมาครั้งแรก ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องรู้จัก และนี่ก็คือต้นกำเนิดของการใช้โดเมนเนมในปัจจุบันและหลังจากนั้นไม่ไม่นาน Domain Name System (DNS) ชุดแรกที่ถูกนำออกมาให้ทุกคนได้ใช้งานมีอยู่ด้วยกัน  5  แบบ โดยเราสามารถแยกความแตกต่างของโดเมนเนมได้จากตัวอักษรย่อที่ต่อจากชื่อ เช่น www.****.com หรือ www. ****.net หรือ www. ****.org  ระยะแรกนี้การจดโดเมนเนมจะทำได้โดยไม่ต้องเสียเงิน โดยมี IANA เป็นผู้ดูแล แต่ระยะหลังเมื่อทาง IANA และ NSF (National Science Foundation) ได้ร่วมกันจัดตั้ง InterNIC ขึ้นมา   เริ่มมีการคิดค่าใช้จ่ายในการ    จดทะเบียนตามมา 100 USD ใน  2  ปีแรกของระยะแรกและลดลงมาเป็น  70  USD  โดยมี ICANN หรือ  Internet Corporation for Assigned Names and Numbers  ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมา   

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต (TCP/IP)

         การสื่อสารข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ หมายถึง การโอนถ่ายหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทาง กับคอมพิวเตอร์ปลายทาง โดยในการโอนถ่ายหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้ จำเป็นที่จะต้องมีการอาศัยภาษากลางในการสื่อความหมายระหว่างกันเพื่อให้เกิด เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลให้การสื่อสารระหว่างกันภายในเครือข่ายได้อย่างรวมแล้วและมี ประสิทธิภาพ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วเรียกว่า Protocol  เป็นเช่นนี้จะเห็นได้ว่า Protocol นั้นหมายถึง มาตรฐานทางด้านภาษาสื่อสารในการที่จะควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและ ปลายทาง  สำหรับการสื่อสาร       บนอินเทอร์เน็ตนั้นได้ใช้ Protocol ที่มีชื่อว่า TCP/IP ( Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อันเกิดจากมาตราฐาน 2  แบบ คือ TCP มีหน้าที่ในการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ ซึ่งเรียกว่า Packet ที่มีขนาดเล็กกว่า 1,500  ตัวอักษร  และทำหน้าที่ประกอบข้อมูลที่แบ่งย่อยออกมาเหล่านี้ในฝั่งของปลายทางที่รับ   ข้อมูล  ส่วน IP นั้น  ทำหน้าที่ในการกำหนดเส้นทางของการสื่อสารจากต้นทางไปยังปลายทาง
หลักการทำงานของ TCP/IP
           หลักการทำงานของ TCP/IP มีขั้นตอนการทำงานดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 TCP  ทำหน้าที่ในการที่แตกข้อมูลที่ต้องการออกเป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนย่อยนี้เรียกว่า Packet โดยแต่ละ Packet จะมีส่วนหัวเรียกว่า Header  ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูล  เกี่ยวกับลำดับของแพ็กเก็ตซึ่งจะถูกนำมาใช้เพื่อประกอบข้อมูลกลับมายังฝั่ง ของผู้รับ
ขั้นตอนที่ 2    Packet แต่ละ Packet จะถูกนำส่งไปแต่ละ IP              ซึ่ง  Packet  แต่ละ Packet จะมี IP เป็นของตนเอง ภายใน IP แต่ละตัวจะถูกกำหนดที่อยู่ปลายทางของผู้รับ และผู้ส่ง โดยจะมีการกำหนดช่วงเวลาและอายุของ Packet
ขั้นตอนที่ 3   Packet  ถูกส่งออกไปบนระบบอินเทอร์เน็ตผ่านเร้าเตอร์              ( Router) ซึ่ง IP  จะถูกตรวจสอบที่อยู่ปลายทางเมื่อผ่านเร้าเตอร์แต่ละตัว   หลังจากนั้นเร้าเตอร์จะทำหน้าที่หาช่องทางในการ
ขั้นตอนที่ 4   เมื่อ Packet  เดินทางไปถึงปลายทางเรียบร้อยแล้ว TCP จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูลภายใน Packet อีกครั้ง ว่าครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่  ถ้าไม่ครบหรือไม่ถูกต้องจะทำการทิ้ง Packet นั้นไปแล้วเรียกกลับไปต้นทางใหม่อีกครั้ง
ขั้นตอนที่ 5   เมื่อปลายทางนั้นได้รับ Packet ที่ถูกต้องครบทั้งหมดแล้ว TCP จะทำหน้าที่ประกอบข้อมูลให้พร้อมที่จะใช้งานต่อไป