วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Wed : WWW)

ความหมายเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web :WWW)

WWW (World Wide Web) หรือ เครือข่ายใยแมงมุม จะเป็นตัวช่วยให้การท่องไปในโลก    อินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งาน เพราะมีการแสดงผลแบบ Hypertext ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งเมื่อเข้าใช้งาน แล้วจะทำให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเกิดความสะดวกสบายในการใช้งาน ในการใช้งาน WWW จะทำให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมีความรู้สึกเสมือนหนึ่งว่าข้อมูลที่มีอยู่ใน ทุกมุมโลกนั้น อยู่เพียงแค่ปลายมือ ที่สามารถค้นหาได้ภายในไม่กี่นาที
เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web)
ความหมายและประเภทของ Domain name
           โดเมนเนม (Domain Name) เป็น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบของอินเทอร์เน็ตดังนั้น เพื่อให้เข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโดเมนเนม  จะต้องรู้เรื่องพื้นฐานและคำศัพท์เบื้องต้นในโลกของอินเทอร์เน็ตอย่างก่อน โดยเริ่มตั้งแต่คำว่า  WWW  หรือ World Wide  Web  หรือ Web  หรือ W3  ซึ่งเปรียบได้กับห้องสมุดที่ให้ใคร ๆ   เข้ามาศึกษาค้นหาข้อมูล หรือมีข้อมูลสำหรับนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาวางแล้วให้ผู้ที่สนใจเข้ามา ศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุด  WWW  ซึ่งจะแตกต่างจากห้องสมุดทั่ว ๆ  ไปตรงที่เป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เป็นประมาณ  Electronics  Library  หรือ e-library  นั่นเองและที่สำคัญคือ  ทั้งโลกมีอยู่ห้องเดียว  ดังนั้น  ถ้าคุณเข้ามาหาอะไรแล้วไม่เจอ ก็ไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปหาที่ห้องสมุดอื่น ๆ ให้อีกหาอยู่ที่  e-library ที่เดียวมีทุกอย่างที่ต้องการ  โดเมนเนม เป็นชื่อที่ขอจดทะเบียนไว้เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเรียกใช้งาน อินเทอร์เน็ต ไม่ได้เป็นชื่อหรือตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูลบนอิน เทอร์เน็ต

ส่วนประกอบของโดเมนเนม
  โดเมนเนมจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 สับโดเมน (Sub Domain Name)
ส่วนที่ 2 Second – Level Domain Name
ส่วนที่ 3 Top – Level Domain
 
ความเป็นมาของโดเมนเนม (Domain Name )

         อินเทอร์เน็ต (Internet) เริ่มต้นมาจากโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการศึกษาและระบบเครือข่าย ที่รู้จักกันดีในนามของโครงการ “ARPANET” ซึ่งระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานตรงนี้ก็คือ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocol) โดยใช้ระบบปฏิบัติการ IUNIX ซึ่งช่วยให้การเชื่อมโยงสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้รับความสนใจจากคนทั่ว โลก
        ในระยะแรก การใช้งานในอินเทอร์เน็ตไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก  เพราะเครื่องที่อยู่ใน เครือข่ายมีไม่มาก  แต่ต่อมาเมื่อมีคนสนใจและมีเครือข่ายการใช้งานที่กว้างมากขึ้น  ก็เลยทำให้เกิดความต้องการในการใช้ชื่อที่ง่ายและไม่ซับซ้อน จำง่าย แทนที่จะใช้ในลักษณะของ IP Address ซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่ใช้อยู่   ซึ่งทำให้เกิดการศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องของ “Name Server” ขึ้นมาครั้งแรก ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องรู้จัก และนี่ก็คือต้นกำเนิดของการใช้โดเมนเนมในปัจจุบันและหลังจากนั้นไม่ไม่นาน Domain Name System (DNS) ชุดแรกที่ถูกนำออกมาให้ทุกคนได้ใช้งานมีอยู่ด้วยกัน  5  แบบ โดยเราสามารถแยกความแตกต่างของโดเมนเนมได้จากตัวอักษรย่อที่ต่อจากชื่อ เช่น www.****.com หรือ www. ****.net หรือ www. ****.org  ระยะแรกนี้การจดโดเมนเนมจะทำได้โดยไม่ต้องเสียเงิน โดยมี IANA เป็นผู้ดูแล แต่ระยะหลังเมื่อทาง IANA และ NSF (National Science Foundation) ได้ร่วมกันจัดตั้ง InterNIC ขึ้นมา   เริ่มมีการคิดค่าใช้จ่ายในการ    จดทะเบียนตามมา 100 USD ใน  2  ปีแรกของระยะแรกและลดลงมาเป็น  70  USD  โดยมี ICANN หรือ  Internet Corporation for Assigned Names and Numbers  ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมา   

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต (TCP/IP)

         การสื่อสารข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ หมายถึง การโอนถ่ายหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทาง กับคอมพิวเตอร์ปลายทาง โดยในการโอนถ่ายหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้ จำเป็นที่จะต้องมีการอาศัยภาษากลางในการสื่อความหมายระหว่างกันเพื่อให้เกิด เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลให้การสื่อสารระหว่างกันภายในเครือข่ายได้อย่างรวมแล้วและมี ประสิทธิภาพ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วเรียกว่า Protocol  เป็นเช่นนี้จะเห็นได้ว่า Protocol นั้นหมายถึง มาตรฐานทางด้านภาษาสื่อสารในการที่จะควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและ ปลายทาง  สำหรับการสื่อสาร       บนอินเทอร์เน็ตนั้นได้ใช้ Protocol ที่มีชื่อว่า TCP/IP ( Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อันเกิดจากมาตราฐาน 2  แบบ คือ TCP มีหน้าที่ในการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ ซึ่งเรียกว่า Packet ที่มีขนาดเล็กกว่า 1,500  ตัวอักษร  และทำหน้าที่ประกอบข้อมูลที่แบ่งย่อยออกมาเหล่านี้ในฝั่งของปลายทางที่รับ   ข้อมูล  ส่วน IP นั้น  ทำหน้าที่ในการกำหนดเส้นทางของการสื่อสารจากต้นทางไปยังปลายทาง
หลักการทำงานของ TCP/IP
           หลักการทำงานของ TCP/IP มีขั้นตอนการทำงานดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 TCP  ทำหน้าที่ในการที่แตกข้อมูลที่ต้องการออกเป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนย่อยนี้เรียกว่า Packet โดยแต่ละ Packet จะมีส่วนหัวเรียกว่า Header  ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูล  เกี่ยวกับลำดับของแพ็กเก็ตซึ่งจะถูกนำมาใช้เพื่อประกอบข้อมูลกลับมายังฝั่ง ของผู้รับ
ขั้นตอนที่ 2    Packet แต่ละ Packet จะถูกนำส่งไปแต่ละ IP              ซึ่ง  Packet  แต่ละ Packet จะมี IP เป็นของตนเอง ภายใน IP แต่ละตัวจะถูกกำหนดที่อยู่ปลายทางของผู้รับ และผู้ส่ง โดยจะมีการกำหนดช่วงเวลาและอายุของ Packet
ขั้นตอนที่ 3   Packet  ถูกส่งออกไปบนระบบอินเทอร์เน็ตผ่านเร้าเตอร์              ( Router) ซึ่ง IP  จะถูกตรวจสอบที่อยู่ปลายทางเมื่อผ่านเร้าเตอร์แต่ละตัว   หลังจากนั้นเร้าเตอร์จะทำหน้าที่หาช่องทางในการ
ขั้นตอนที่ 4   เมื่อ Packet  เดินทางไปถึงปลายทางเรียบร้อยแล้ว TCP จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูลภายใน Packet อีกครั้ง ว่าครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่  ถ้าไม่ครบหรือไม่ถูกต้องจะทำการทิ้ง Packet นั้นไปแล้วเรียกกลับไปต้นทางใหม่อีกครั้ง
ขั้นตอนที่ 5   เมื่อปลายทางนั้นได้รับ Packet ที่ถูกต้องครบทั้งหมดแล้ว TCP จะทำหน้าที่ประกอบข้อมูลให้พร้อมที่จะใช้งานต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น